การพิมพ์สกรีนขั้นพื้นฐาน 1 สี


การพิมพ์สกรีน
เป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้หลักการปาดสีหรือหมึกพิมพ์ผ่านผ้าสกรีนที่ขึงตึงบนกรอบที่ทำขึ้น โดยปิดและเปิดบริเวณรูผ้าสกรีนให้มีลายภาพตามความต้องการ การพิมพ์นี้สามารถพิมพ์ได้กับวัสดุหลายชนิด เช่น กระดาษ สติกเกอร์ ไม้ ผ้า กระจก กระเบื้อง เซรามิค พลาสติก โลหะ ฯลฯ และหลายรูปทรง เช่น วัสดุพื้นราบ ทรงกระบอก และวัสดุรูปทรงไข่ เป็นต้น ทั้งที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดใหญ่โดยไม่จำกัด
ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ - เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้
กระบวกการพิมพ์สกรีน เป็นระบบการพิมพ์ที่มีขั้นตอนการทำงานที่ง่ายสามารถจำแนกออกได้ 3 ขั้นตอน คือ
1. การเตรียมแม่พิมพ์สกรีน (Pre - Stencil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
    - การขึงสกรีน
    - การทำความสะอาดสกรีน
2. การสร้างแม่พิมพ์สกรีน (Stencil) สามารถสร้างได้ 2 วิธี คือ
    - สร้างแม่พิมพ์โดยไม่ใช้แสง (Non- Exposure)
    - สร้างแม่พิมพ์โดยวิธีถ่ายด้วยแสง (Exposure)
3. การพิมพ์สกรีน (Printing) แบ่งตามลักษณะการพิมพ์สกรีนได้ 3 แบบ คือ
    - การพิมพ์แบบสีเดียวหรือหลายสี (Single / Multi Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สีทึบ ซึ่งสีแต่ละสีเกิดจากการพิมพ์สีละ 1 ครั้ง โดยการพิมพ์ลายภาพที่เป็นแบบสีเดียวหรือหลายๆ สีก็ได้
    - การพิมพ์แบบหมึกชุดสอดสี ( Process Colour ) พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์ชุดสอดสี ใช้หมึกกึ่งโปร่งแสง ประกอบด้วย สีเหลือง สีบานเย็น สีคราม และสีดำ การพิมพ์ด้วยหมึกประเภทนี้ จะเป็นการพิมพ์โดยใช้เม็คสกรีนพิมพ์ซ้อนหรือเหลื่อมกันเพื่อให้เกิดการผสมผลานกันระหว่างหมึกพิมพ์ได้สีต่าง ๆ ออกมามากมายตามต้นฉบับ
    - การพิมพ์ด้วยเทคนิคพิเศษ ( Special Effect ) เป็นการพิมพ์ลงบนชิ้นงานบางชนิดที่ไม่สามารถพิมพ์ด้วยระบบทั่วๆ ไป เช่น การพิมพ์วัสดุรูปทรงศรี วัสดุผิวโค้ง และวัสดุผิวขรุขระ เป็นต้น
บล็อกสกรีน
กาวอัดสกรีน ซ้าย
น้ำยาไวแสง  ขวา


ยางปาดสี




ปัจจุบันระบบการพิมพ์สรีนเข้ามามีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์ และวงการศึกษามากขึ้น เช่น ใช้พิมพ์สินค้าให้สวยงามน่าใช้ ใช้พิมพ์ป้าย งานสื่อโฆษณา - ประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ เป็นต้น และนับว่าเป็นระบบการพิมพ์งาน์ที่ใช้ลงทุนน้อยโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ – เครื่องมือเครื่องใช้เพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถพิมพ์ได้ และสามารถทำให้ท่านนำไปประกอบอาชีพได้โดยลงทุนไม่มากนักแต่ ทำเงินได้เกินพอเชียวล่ะ
เช่น..ลองพิมพ์เสื้อยืดไว้ขาย หรือ พิมพ์วัสดุต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้านั้นๆ
1.อุปกรณ์ การทำสกรีนเบื้องต้น (สำหรับผู้ฝึกทำใหม่)
1.กาวอัดสกรีน 1 ขวด
2.น้ำยาไวแสง 1 ขวด
3.บล็อกสกรีน 1 บล็อก
4.ยางปาดสี 1 อัน
5.กระจกใส  1  แผ่น
6.สีสกรีนผ้า  1  ขวด
7.ผงล้างบล็อกสกรีน 1  ขวด


2. การเตรียมสร้างแบบสกรีน(ต้นฉบับสำหรับพิมพ์เสื้อ)
1. นำกระดาษขาว เอ 4 ธรรมดา วางลงบนโต๊ะ
2. วาดแบบอะไรก็ได้ตามต้องการ แต่ต้องวาดด้วยหมึกสีดำ
หรือปากกาหมึกดำ และต้องวาดด้านเดียว หรือจะใช้อิงค์เจ็ทพิมพ์แบบสี
ดำลงบน กระดาษ เอ4 ก็ได้ (ต้องเน้นใช้หมึกดำนะครับ ห้ามใช้สีอื่น)
3. นำกระดาษขาวที่วาดแบบแล้ว วางลงบนกระจกใสที่ให้มา เอาสำลีจุ่ม
น้ำมันพืชที่หาได้ในครัว ถูทาให้ทั่วแผ่นกระดาษ (เพื่อให้กระดาษนั้นใส
ขึ้น แต่ต้นแบบของเราต้องไม่ซึมนะครับ)

3.การเริ่มต้นทำบล็อกสกรีน(เบื้องต้น)
1. เทกาวอัดลงในภาชนะ ประมาณ 5 ช้อน
2. เทน้ำยาไวแสง 1 ช้อน
3. ผสมกาวอัดและน้ำยาไวแสงเข้าด้วยกัน คนให้เข้ากัน(จะออกสีน้ำตาลๆ)
4. นำกาวอัดที่ผสมเสร็จแล้ว เทลงหลังบล็อกสกรีนให้ปริมาณพอควร
5. เอายางปาดสกรีนที่เช็ดแห้งแล้ว ปาดกาวอัด ขึ้นและลงให้ทั่วๆบล็อกสกรีน
และพยายามให้กาวอัด ราบเรียบ อย่าให้กาวดูแล้วหนานะครับ
6. เศษกาวอัดที่ด้านข้างๆของบล็อกสกรีน หาเศษผ้ามาเช็ดทิ้งไป อย่าให้เยิ้มเป็น
ก้อน อาจจะมีปัญหาเวลาเป่าบล็อกแล้วมันไม่ค่อยจะแห้ง
7. จากนั้น ก็นำเอาไดร์เป่าผม มาเป่าบล็อกสกรีนดังกล่าวให้แห้ง (ขณะที่เป่าควรทำในที่มืดๆ พยายามอย่าให้โดนแสงสว่าง และห่างประมาณ 1 ฟุต) วิธีสังเกตว่าบล็อกแห้ง หรือยังนั้น ควรดูว่า กาวที่ฉาบลงไปนั้น มีสีที่ใสขึ้นแล้วหรือยัง (สีสันมันจะดูใสๆแบบลูกโป่งที่เราเป่าให้พองโต)
8. เมื่อเป่าบล็อกสกรีนด้วยลมร้อนจนแห้งดีแล้ว..
จงจำไว้ว่า กาวอัดบนบล็อกสกรีนที่แห้งแล้วนั้น เปรียบเสมือน ฟิลม์ถ่ายรูปดีๆนี่เอง..ดังนั้นจึงต้องระวังอย่าให้ถูกแสงที่สว่างจ้าขณะที่เก็บบล็อกไว้ เพื่อการเตรียมอัดบล็อกสกรีนต่อไป

การเริ่มต้นทำบล็อกสกรีน
4. การอัดบล็อกสกรีน เพื่อสร้างแม่แบบ บล็อกสกรีน
1. นำกระจกใสที่เราเอาแบบวาดหรือแผ่นกระดาษ ซึ่งชุบทาถูน้ำมันพืชไว้
เรียบร้อยแล้วนั้น มาวางทาบกับด้านหลังของบล็อกสกรีนตามลำดับ(ดังรูป)
  •  กระจก
  • กระดาษต้นฉบับ
  • บล็อกสกรีน
  • กระดาษดำ(ใช้กระดาษคาร์บอนก็ได้)
  • หนังสือหนาๆ
                   
2. ด้านหน้าของบล็อกสกรีนนั้น เอากระดาษดำ(ใช้กระดาษก็อปปี้ก็ได้ครับ) หรือผ้าดำ วางทับไว้
3. ใช้มือจับนำอุปกรณ์ทั้งหมด(ดังในภาพ)หงายขึ้น แล้วส่องให้ถูกกับแสงแดด โดยใช้เวลาประมาณ 10 วินาที (กรณีแดดจ้า)
4. หลังจากนั้น ก็นำบล็อกสกรีนที่ผ่านการฉายแสงแล้ว มาล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา หรือฉีดด้วยสายยางน้ำประปา เพื่อให้ภาพที่ถ่ายไว้ในบล็อกสกรีนปรากฏขึ้น
5. จากนั้นก็นำบล็อกสกรีนนี้ไปตากแดด หรือ เป่าด้วยลมร้อนจากไดเป่าให้แห้งสนิท
6. นำเทปกาวย่นธรรมดาที่มีขายทั่วไป ปะติดขอบบล็อกด้านนอก(ด้านหลัง)ทั้ง 4 ด้าน เป็นอันว่า เสร็จแล้วครับ.. คุณจะได้บล็อกสกรีนที่พร้อมใช้งานแล้วครับ.


ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า
5. ขั้นตอนการพิมพ์ผ้า..หรือเสื้อยืด
1. นำเสื้อ หรือ วัสดุที่เป็นประเภทผ้า มาวางไว้บนพื้นโต๊ะที่ราบเรียบ ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้ไม้อัด หรือ แผ่น ฟิวเจอร์บอร์ด (แผ่นพาสติกลูกฟูก) ตัดให้เล็กกว่าตัวเสื้อเล็กน้อย สอดในตัวเสื้อ แล้วเอามือลูบให้ราบเรียบ(ถ้าไม่เรียบให้ซื้อกาวยึดผ้ามาทาก่อน แล้วผ้าจะเรียบไม่ย่น การพิมพ์ก็จะง่ายขึ้นครับ)
2. นำบล็อกสกรีนที่เตรียมไว้ มาวางบนเสื้อที่ต้องการจะพิมพ์
3.เทสีสกรีนที่เตรียมไว้ ลงบนบล็อกสกรีน
4.ใช้ยางปาด ปาดสีผ่านบล็อกสกรีน ไปมา 2-3 ครั้ง แล้วยกบล็อก ขึ้น ถ้าจะพิมพ์หลายๆตัว ก็ ยกบล็อกไปพิมพ์ตัวต่อไป ด้วยวิธีเดียวกัน จนหมดชิ้นงานที่จะพิมพ์ 

6. ขั้นตอนการล้างบล็อก
1. จำไว้นะครับ พิมพ์เสื้อเสร็จแล้ว ต้องล้างบล็อกทันที (เน้น..นะครับ ต้องล้างบล็อกทันทีที่พิมพ์เสร็จ.)
2. นำบล็อกสกรีนที่ ใช้แล้ว ปาดสีออกให้หมด
3. จากนั้นก็ล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดา โดยเอาน้ำราดบล็อกทั้งสองด้าน แล้วเช็ดด้วยผ้าแห้งให้สะอาด เพื่อการใช้งานใช้ครั้งต่อไป.

 
7. ตู้ฉายแสง
สำหรับท่าน ที่ต้องการทำ ตู้ฉายแสง
คิดว่าทำไว้สักตู้ ก็ไม่เสียหลายครับ ก็ในระยะยาว คิดว่าคุ้มครับ จ้างเขาทำบล็อดสกรีน ขั้นต่ำก็ 300-700 บาท ต่อ 1 บล็อค แล้วแต่ขนาด ขนาดใหญ่ ก็แพงขึ้น เราทำเองดีกว่าครับ ทำเสร็จแล้ว ไม่ชอบใจ ก็ล้างบล็อคทำใหม่ได้ อยากจะทำวงจรอะไร ก็ทำได้ ยังไงก็ลองไปดัดแปลงทำดูครับ ใส้สวิตเปิดปิดไฟก็จะดีหน่อย เครื่องต้นแบบ รีบทำไปหน่อย เสียบปลักแล้วติดเลย กระจกก็ไปหาซื้อ ร้านที่ทำกระจก หรือ แผ่น อะคริลิค ก็ได้ หนาหน่อย 5 มิลลืขึ้น เพราะต้องการความแข็งแรง แต่ถ้ากระจกจะดีกว่า เพราะเช็คทำความสะอาดง่ายกว่า และเป็นรอยยากกว่า บางท่านอาจจะดัดแปลง นำไม้มาตีเป็นกล่อง ก็ได้ หาอะไรปิดให้รอบกล่อง แล้วเจะกล่องข้างล่าง ยัดหลอดไฟเข้าไป แล้วนำกระจกมาวางด้านบน ต่อสายไฟให้พร้อม แล้วทดสอบแสง เป็นการเสร็จ

ตู้ฉายแสง