ข้าวราดแกงกะหรี่ญี่ปุ่น (คะเระ ไรอิสึ - Kare raisu)








คะเระ ( kare - カレー ) หมายถึง.... แกงกะหรี่

ไรอิสึ ( raisu - ライス ) หมายถึง.....ข้าว




เครื่องปรุงหลักที่สำคัญในการทำแกงกะหรี่แบบญี่ปุ่นก็คือ.....Japanese Curry Paste....( Kare - Raisu Pesuto = เครื่องแกงกระหรี่แบบสำเร็จรูป - คะเรรูว์)

เครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูป (คะเรรูว์)นั้น....มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก และมีการแบ่งระดับของความเผ็ด (แต่ขนาดที่เผ็ดมากสุดของญี่ปุ่นนั้น.... ก็ยังไม่เผ็ดเท่าเครื่องแกงของไทยเราหรอกนะค่ะ)

ขนาดของความเผ็ดแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

- เผ็ดน้อย ( 甘口 - Ama Kuchi )
- เผ็ดปานกลาง ( 中辛 - Chuu Gara )
- เผ็ดมาก ( 辛口 - Karai Kuchi )

เวลาเลือกซื้อคะเรรูว์ให้สังเกตุตัวหนังสือที่เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น ดังรูปด้านล่าง (จะเห็นเป็นตัวหนังสือกำกับอยู่ด้านหน้าของกล่อง) อย่าดูที่สีของกล่อง ..เพราะแต่ละยี่ห้อ จะกำหนดสีของกล่องไว้ไม่เหมือนกัน








สูตรและวิธีทำที่เขียนครั้งนี้....แปลจากที่เค้าเขียนกำกับไว้ด้านหลังของกล่องเครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูป แต่ละยี่ห้อของ "คะเระรูว์" อาจจะมากน้อยต่างกันนิดหน่อยค่ะ อาจจะใส่ แอ๊ปเปิ้ลฝนละเอียด หรือใช้ผักอย่างอื่นแทนก็ได้...แล้วแต่ความชอบของแต่ละบ้านค่ะ

ส่วนผสม..... (สำหรับ 3-4 คน)

- เนื้อวัว หรือ เนื้อหมู หรือ เนื้อไก่ (ตามชอบ) ....... 200 กรัม
- มันฝรั่ง....... 150 กรัม
- แครรอท...... 100 กรัม
- หอมหัวใหญ่..... 300 กรัม
- น้ำสะอาด....... 450 ซีซี
- นมสด หรือครีมสด....... 50 ซีซี (ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องใส่ แต่ให้ไปเพิ่มในส่วนของน้ำสะอาดอีก 50 ซีซี
- น้ำมันพืช...... 1 ช้อนโต๊ะ
- ก้อนแกงกะหรี่ญี่ปุ่นสำเร็จรูป (kareruu)...... 100 กรัม

วิธีทำ  .ดูรูปประกอบ....

1. เนื้อล้างน้ำให้สะอาด ซับให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นพอคำ หรือจะใช้เป็นเนื้อสไลด์ หรือสับหยาบ ๆ ก็ได้ตามสะดวกค่ะ (แต่ถ้าหั่นเป็นก้อน อย่าให้ชิ้นใหญ่มาก...เพราะจะต้องต้มนาน กว่าเนื้อจะเปื่อย

2. มันฝรั่งปอกเปลือก ล้างน้ำสะอาด หั่นชิ้นพอคำ ควรหั่นให้ชิ้นใหญ่กว่าแครอทหน่อยค่ะ เวลาต้มจะได้สุกพร้อมๆ กัน

3. แครอท ปอกเปลือกล้างสะอาด หั่นชิ้นพอคำ

4. หอมหัวใหญ่ปอกเปลือก ล้างสะอาด ผ่าครึ่งลูก แล้วผ่า 4









นำกะทะ หรือหม้อ (ที่ไม่ติด) ตั้งเตาไฟ ใส่น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ พอน้ำมันร้อน นำหอมหัวใหญ่ที่เตรียมไว้ลงไปผัด (ผัดแค่แป๊ปเดียว ให้ใส่เนื้อลงไปผัดให้เนื้อสุกเหลือง จึงใส่แครอทลงไป ผัดต่ออีกซักพัก ใส่มันฝรั่งเป็นอันดับสุดท้าย ผัดต่อให้มันฝรั่งและแครอทโดนน้ำมันทั่ว






เติมน้ำสะอาดลงไป 450 ซีซี (รูปด้านซ้าย) ปิดฝาต้มด้วยไฟกลาง พอเดือดแล้วหรี่เป็นไฟอ่อน ต้มต่ออีกประมาณ 20 นาที ( คอยช้อนฟองออกทิ้งด้วยนะค่ะ )
ที่บ้านชอบให้แกงออกรสหวานหน่อย ก็เพิ่มแอ๊ปเปิ้ลหั่นสับหยาบ ๆ ลงไปสักครึ่งลูก (รูปด้านขวา) หรือจะใส่เห็ด , ผักอื่น ๆ ตามชอบก็ได้ค่ะ


ในกรณีที่จะเพิ่มผักอื่น ๆ....ก็ให้ใส่ต่อจากขั้นตอนที่แล้ว หลังจาก ใส่ลงไปแล้ว ให้ต้มต่ออีกสักพัก จนเนื้อและแครอทนิ่ม ลองใช้ไม้จิ้มแครอทดูก็ได้ค่ะ ว่านิ่มหรือยัง ส่วนมันฝรั่งไม่ต้องห่วง เพราะสุกง่ายอยู่แล้ว

รูปด้านซ้าย.......แกะกล่องและบิก้อนเครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูปเตรียมไว้ ที่บ้านมักจะใช้เครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูปอย่างน้อย 2 ยี่ห้อ (( เพราะแต่ละยี่ห้อ รสชาดไม่เหมือนกัน )) อันนี้...ก็ได้เคล็ดลับมาจากเพื่อนคนญี่ปุ่น เค้าบอกว่าจะทำให้รสชาดของแกงกลมกล่อมขึ้น แต่ถ้าไม่ได้ทำบ่อย ๆ ก็แค่ใช้ยี่ห้อเดียวได้ค่ะ

หลังจากที่เนื้อและผักทุกอย่างเปื่อยได้ที่แล้ว ให้ปิดไฟเตาแก๊ส ปิดฝาหม้อทิ้งไว้ ปล่อยให้อุณหภูมิของแกงลดลงหน่อย (ประมาณ 5-10 นาที) แล้วจึงบิเครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูปใส่ลงไป (รูปด้านขวา) อย่าเพิ่งใส่ให้หมดกล่องนะค่ะ คนให้เครื่องแกงกะหรี่ละลาย แล้วชิมรสดูก่อน ถ้ารสเข้มข้นไม่พอค่อยใส่เพิ่ม ((ยังไม่ต้องติดไฟเตานะค่ะ)

อ้อ...เครื่องแกงกะหรี่สำเร็จรูป ถ้าใช้ไม่หมด....ให้นำใส่กล่องปิดฝา หรือใส่ถุงพลาสติก ปิดให้แน่น เก็บเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา จะได้เอาไว้ใช้ในคราวต่อไปได้ค่ะ


หลังจากใส่เครื่องแกงกะหรี่ลงไปแล้ว คนให้เครื่องแกงละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ให้ดูข้นและเหนียว ชิมรสดู ถ้ารสกลมกล่อมถูกใจแล้ว ให้เปิดไฟเตาแก๊สอีกครั้ง ต้มเคี่ยวต่อไปอีกสักพัก (หมั่นคนบ่อย ๆ ไม่งั้น....จะไหม้ติดก้นหม้อ) พอแกงเดือดอีกครั้งก็เสร็จ ตักเสริฟ์ได้


สำหรับคนที่ชอบแกงมีรสเข้มข้นและกลมกล่อมขึ้น....ให้เพิ่มนมสด หรือ ครีมสด เติมลงไปนิดหน่อย (ประมาณ 50 ซีซี) ในขั้นตอนที่ข้างต้น แล้วต้ม+คนให้เข้ากันดี

เสร็จพร้อมเสริฟ์....เครื่องปรุงและวิธีการทำไม่ยุ่งยากเลย....กลิ่นแกงหอมฟุ้ง...... ตักข้าวสวยใส่จานไว้ข้างหนึ่ง ตักแกงกะหรี่ราดไว้อีกข้างหนึ่ง ทานแกล้มกับผักดองแบบหวาน....อร่อยมาก ๆ ค้า

** แกงกะหรี่ญี่ปุ่น....ถ้าทำแล้วทานไม่หมด วันรุ่งขึ้นนำมาอุ่นให้ร้อน รสจะอร่อยกว่า ตอนที่ทำเสร็จใหม่ ๆ เสียอีกค่ะ เพราะน้ำแกงจะซึมเข้าเนื้อ**



ผักดองแบบหวาน...ที่มักจะนำมาทานแก้เลี่ยน คู่กับ ข้าวราดแกงกระหรี่แบบญี่ปุ่น

รักเกียว.... คล้ายกระเทียมดอง รสออกหวานเปรี้ยว

ฟุคุจิง ทสึเกะ....ทำมาจากหัวผักกาด (ไชเถ้า) หั่นชิ้นบาง ๆ แล้วนำมาดอง รสออกหวาน

ขอจบวิธีการนำเสนอ...."แกงกระหรี่แบบญี่ปุ่น" ไว้แค่นี้ก่อน ...เพื่อน ๆ ลองปรับเปลี่ยนทำทานกันดูและขอให้อร่อยกันทั้งครอบครัวนะค่ะ

ในส่วนของ...เนื้อสัตว์..นั้น...จะหั่นเป็นก้อน หรือ หั่นบาง ๆ หรือ สับหยาบ ๆ ได้ตามความชอบของผู้ทานค่ะ



















































ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao-yiipun&month=25-11-2006&group=2&gblog=1

เอียวเล้ง-คาตั๊ง กระดูกหมูส่วนไหนต้มซุปยังไงให้อร่อย












เอียวเล้ง (เล้ง, เอียะเล้ง, เอียเล้ง) คือกระดูกสันหลังของหมู เวลานำมาขายมักจะหั่นมาให้ติดเนื้อด้วย ส่วน คาตั๊ง (คาตั้ง, คาตัง) คือกระดูกหน้าแข้งของหมู สิ่งที่ทั้ง 2 ส่วนนี้มีเหมือนกันก็คือเป็นส่วนที่คนนิยมใช้ต้มทำน้ำซุปกระดูกหมู โดยบางคนบอกว่าหากใช้เอียวเล้งต้มจะทำให้น้ำซุปหวาน ส่วนคาตั๊งจะทำให้น้ำซุปหอม จะเลือกใช้ส่วนไหนมาต้มก็แล้วแต่ความต้องการ หรือจะนำมาต้มรวมกันก็ยังได้




ซุปกระดูกหมูที่เราคุ้นชินกันจะมี 2 แบบ คือน้ำซุปใส กับน้ำซุปสีขาวขุ่น ซึ่งส่วนประกอบพื้นฐานและวิธีทำโดยรวมนั้นคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ทำให้สีของน้ำซุปแตกต่างกันก็คือ “ความแรงของไฟ” ที่ใช้ต้ม หากต้มด้วยไฟอ่อนจนถึงไฟกลาง จะได้น้ำซุปที่ใสเป็นสีทองดูน่ากิน เหมาะสำหรับนำไปทำแกงจืด ต้มซุป หรือปรุงเป็นต้มยำ แต่ถ้าต้มด้วยไฟแรงตลอด จะได้น้ำซุปสีขาวขุ่นจากคอลลาเจนในไขกระดูก เหมาะสำหรับนำไปทำราเมนแบบญี่ปุ่น




เคล็ดลับการต้มน้ำซุปกระดูกหมูให้อร่อยนั้นไม่ยาก แต่ต้องใช้ความอดทนและเวลาไม่ใช่น้อย เริ่มจากการนำกระดูกเอียวเล้งหรือคาตั๊งตามต้องการไปล้างให้สะอาด จากนั้นจึงต้มน้ำให้เดือดพล่าน นำกระดูกลงไปต้มประมาณ 5 นาทีเพื่อล้างเอาสิ่งสกปรกออก ไม่ต้องคนหรือช้อนฟองออกทั้งสิ้น สังเกตดูว่าน้ำจะมีฟองขุ่นๆและสิ่งสกปรกจำนวนมาก




จากนั้นนำกระดูกหมูขึ้น เทน้ำต้มรอบแรกทิ้ง ทุบกระดูกหมูให้แตกเพื่อให้ไขกระดูกออกมาง่ายขึ้น แล้วค่อยเริ่มต้มน้ำซุปกระดูกหมูด้วยการใส่กระดูกที่ต้มแล้วลงไปพร้อมน้ำสะอาดรอบใหม่ ใส่ผักได้ตามต้องการเพื่อเพิ่มความหวาน หากต้องการน้ำซุปใสให้ต้มจนเดือดครั้งหนึ่งแล้วลดไฟให้เหลือไฟอ่อนหรือไฟกลาง เคี่ยวไปเรื่อยๆ แต่ถ้าอยากได้น้ำซุปสีขาวขุ่นแบบญี่ปุ่นให้ต้มด้วยไฟแรงตลอด ที่สำคัญต้องหมั่นช้อนฟองกับสิ่งสกปรกที่อาจหลงเหลือทิ้งและเติมน้ำไม่ให้ไหม้ ถ้าจะให้อร่อยควรเคี่ยวอย่างต่ำ 6 ชั่วโมง ยิ่งเคี่ยวนานก็จะยิ่งเข้มข้น




เคล็ดลับความอร่อยอย่างหนึ่งที่ทำให้น้ำซุปกระดูกหมูเข้มข้นและรสชาติดีคือคอลลาเจนจากไขกระดูก ซึ่งนอกจากจะอร่อยแล้ว คอลลาเจนยังเป็นโครงสร้างหลักของผิวหนัง กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวหนังที่มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบถึง 75% ถ้าปริมาณคอลลาเจนในชั้นผิวลดลง ผิวก็จะเริ่มเหี่ยวย่นมีริ้วรอย คอลลาเจนมีอยู่มากในเมนูเด็ดอย่างต้มซุปเปอร์ตีนไก่ ขาหมู คากิและน้ำซุปกระดูกหมู การกินอาหารที่อุดมไปด้วยคอลลาเจนเหล่านี้จึงช่วยให้ผิวใสเด้งดึ๋ง ดูอ่อนกว่าวัยนั่นเอง





















ข้อมูลจาก https://www.pageqq.com/