โลดทะนงแดง แก้พิษงู สัตว์มีพิษ ถอนพิษเมาเบื่อ


โลดทะนงแดง แก้พิษงู สัตว์มีพิษ ถอนพิษเมาเบื่อ

          ในแวดวงหมอพื้นบ้านที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาพิษงูหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย ต้องรู้จักประโยชน์และการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรโลดทะนงแดงเป็นอย่างดี เพราะสมุนไพรตัวนี้มีความโดดเด่นในการถอนพิษสัตว์ร้ายได้ดีมาก บางรายมีพิษตกค้างสะสมในร่างกายเป็นเวลานานหลายปี แต่พอได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้านผู้เชี่ยวชาญโดยการใช้โลดทะนงแดงถอนพา อาการที่เกิดจากพิษนั้นก็หายลุล่วงด้วยดี
    
    วิธีการใช้ในการรักษาพิษงู หมอพื้นบ้านจะใช้ส่วนของรากโลดทะนงแดง

           ใช้ราก ฝนกับน้ำมะนาว น้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง พิษแมงมุม ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา

           ใช้ราก ผสมกับเมล็ดหมาก ฝนกับน้ำรับประทาน แก้พิษงู หรือผสมกับน้ำมะนาวใช้ทาแผลแก้พิษงู

           ใช้ราก ฝนน้ำกินทำให้อาเจียน เพื่อถอนพิษคนกินยาเบื่อ เมาพิษเห็ดและหอยแก้พิษงู แก้เสมหะเป็นพิษ (เสมหะหรืออุจจาระเป็นมูกเลือด) แก้หืด แก้วัณโรคเป็นยาระบาย    

           ใช้ราก ฝนกับน้ำมะนาวหรือสุรา รับประทานแก้พิษงู 

           ใช้ราก ฝนกับน้ำใช้ทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดบวมเกลื่อนฝี หรือดูดหนอง แก้ปวดฝีแตก 

           แพทย์แผนไทยทางอีสาน ใช้รากต้มดื่มแก้วัณโรค
    
          นอกจากนี้ ยังใช้ถอนพิษเบื่อเมา เช่น พิษจากเห็ด พิษเมาหอย ยาเบื่อหรือยาพิษ จัดเป็นพวกยาระบายที่ถ่ายพิษของเสียออกจากร่างกาย
   
          มีรายงานการวิจัยว่าโลดทะนงแดงสามารถต้านพิษงูในสัตว์ทดลองได้
    
          โลดทะนงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Trigonostemonreidioides (Kurz) Craib อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อเรียกอื่นตามท้องถิ่นข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี,  ประจวบคีรีขันธ์), ดู่เบี้ย ดู่เตี้ย (เพชรบุรี), ทะนง รักทะนง (นครราชสีมา), ทะนงแดง (ประจวบคีรีขันธ์), นางแซง  (อุบลราชธานี), โลดทะนงแดง (บุรีรัมย์), หนาดคำ (เหนือ) หัวยาเข้าเย็นเนิน ข้าวเย็นเนิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีขันธ์)


    
          โลดทะนงแดง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ ทุกส่วนของต้นมีขน ลำต้นมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบ เดี่ยวเรียงสลับ เนื้อใบหนา แผ่นใบรูปขอบขนาน  หรือรูปขอบขนานแกมใบหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม เห็นเส้นใบย่อยเห็นชัด และมีขนนุ่มหนาแน่นบนผิวใบทั้งสองด้าน 
โลดทะนงแดง แก้พิษงู สัตว์มีพิษ ถอนพิษเมาเบื่อ
          ดอก แบบกระจะ ดอกสีขาว ชมพูม่วงเข้มหรือเกือบดำ ออกเป็นช่อตามซอกใบและตามกิ่งก้าน ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีจำนวนมากกว่าอยู่บริเวณโคนช่อมีลักษณะตูมกลม ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ก้านดอกมีขน มีกลีบดอก 5 กลีบ ไม่มีขน มีเกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นแท่งเดียว ดอกเพศเมียตูมรูปไข่ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนจานฐานดอกล้อมรอบฐานของรังไข่ มีรังไข่เหนือวงกลีบ กลีบดอกสีขาว 

          ผลแห้งแตกได้ รูปค่อนข้างกลม มีขนสั้นนุ่มปกคลุมหนาแน่น แบ่งเป็น 3 พูชัดเจน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 มิลลิเมตร มีก้านสีแดง ยาว 3-5 เซนติเมตร เมล็ด รูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่แกมสามเหลี่ยม  ผิวเรียบ
    
          ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเจริญงอกงามในฤดูฝน พบถึงฤดูแล้งต้นมักตายแล้วเกิดหน่อใหม่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน พบตามป่าเบญจพรรณแล้ง 


โลดทะนงแดง แก้พิษงู สัตว์มีพิษ ถอนพิษเมาเบื่อ



    
          สรรพคุณทางยา ส่วนราก รสร้อน ใช้ฝนดื่มทำให้อาเจียน ทำให้ถ่าย ใช้ถอนพิษ ยาเมาเบื่อ ถอนพิษเห็ดเมาเบื่อ ถอนพิษเสมหะ แก้หืด คุมกำเนิด แก้วัณโรค ฝนกับน้ำมะนาวหรือสุรารับประทานแก้พิษงู และสัตว์มีพิษได้ทุกชนิด ฝนกับน้ำทาแก้ฟกช้ำ เคล็ดยอกบวม เกลื่อนฝี ดูดหนอง ปวดฝี
   
          ใครที่นิยมปลูกพันธุ์ไม้สมุนไพรก็ไม่ควรพลาดที่จะลองหาโลดทะนงแดงมาปลูกและศึกษาประโยชน์ไว้ใช้ในคราวจำเป็น

หนานเฉาเหว่ย (หนานเฝยเฉ่า) ลดเบาหวาน โรคเกาต์ โรคความดันสูง


หนานเฉาเหว่ย (หนานเฝยเฉ่า) ลดเบาหวาน โรคเกาต์ โรคความดันสูง

**ต้นหนานเฉาเหว่ยสมุนไพรจากจีนเอาใบมาต้มดื่มต่างน้ำชาแก้โรคเก๊าท์,ลดความดันและเบาหวาน***
ลักษณะของต้น หนานเฉาเหว่ย
หนานเฉาเหว่ย เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-8 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนป้านหรือเกือบมน ใบอ่อนและใบแก่มีรสขมจัดตามที่กล่าวข้างต้น ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นสีขาว “ผล” ทรงกลม มีเมล็ด
ต้นไม้นี้ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว นิยมปลูกเฉพาะตามสวนสมุนไพรจีนและสวนสมุนไพรไทยเพื่อใช้ประโยชน์เป็นยา โดยใบสดของ “หนานเฉาเหว่ย” มีรสขมจัด เมื่อเคี้ยวกินสดตอนแรกจะขมในปากมาก แต่พอกินไปได้สักพักจะรู้สึกว่ามีรสหวานในปากและลำคอ ซึ่งใบสดดังกล่าวตำรายาจีนระบุว่า สามารถช่วยลดเบาหวาน แก้อาการของโรคเกาต์และลดความดันโลหิตสูงได้
วิธีใช้
แบบง่ายๆคือ เอาใบสด 5-7 ใบ ต้มกับน้ำจนเดือด แล้วดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 2 เวลา ก่อนอาหารเช้าเย็น จะสังเกตได้ว่าประมาณ 1 อาทิตย์ อาการที่เป็นจะดีขึ้น จากนั้นต้มดื่มบ้างหยุดบ้าง เพื่อควบคุมอาการ
ส่วนใครที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือปวดตามข้อเพราะทำงานหนักต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่ปวดที่เกิดจากกระดูกเสื่อม ให้เอาใบสดของ “หนานเฉาเหว่ย” 1-2 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วเคี้ยวกินได้เลย วันละครั้ง ประมาณ 1 อาทิตย์ อาการปวดเมื่อยจะดีขึ้น จากนั้นเคี้ยวกินบ้างหยุดบ้างเพื่อควบคุมอาการเช่นเดียวกัน หรือจะใช้ตากแห้งชงเป็นชาก็ได้

หนานเฉาเหว่ย (หนานเฝยเฉ่า) ลดเบาหวาน โรคเกาต์ โรคความดันสูง

มหัศจรรย์!!!บังคับ “กล้วย” แทงเครือกลางลำต้น จัดการง่าย ผลผลิตงาม ลดต้นทุน

“กล้วย” แทงเครือกลางลำต้น



มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างอยู่หมัด ด้วยการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นเพื่อง่ายต่อการจัดการดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

คุณนิคม วงศ์นันตา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และทีมงาน ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นมากว่า 3 ปี จนประสบความสำเร็จ


“เราได้ทำการศึกษาช่วงเวลาของการเกิดปลีกล้วยด้วยการสังเกตลักษณะการเจริญเติบโตพื้นฐาน คือเมื่อกล้วยมีอายุประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลี โดยที่ต้นแม่จะตกเครือกล้วยก่อนต้นลูก ต้นหลาน ไล่เลียงกันไป และที่สำคัญคือ การสังเกต “ใบธง” ของกล้วยซึ่งบ่งชี้ระยะของการออกปลีในแกนกลางลำต้น



ซึ่งศึกษาด้วยการผ่าลำต้น จึงพบว่า ระยะที่พอเหมาะในการเจาะลำต้นเพื่อบังคับให้กล้วยตกเครือนั้น คือระยะที่ใบธง (ใบยอดสุดท้ายของกล้วยซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก) ชูก้านใบขึ้นสู่ท้องฟ้า มีลักษณะม้วนหลวมๆ ไม่แน่นเกินไป ไม่คลี่เกินไป นั่นคือระยะพอเหมาะที่จะเจาะลำต้นบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นในระดับความสูง 1.5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงระดับพอดีในการจัดการดูแลกล้วย การเก็บเกี่ยวผลผลิต”

ขั้นตอนการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้น

- อันดับแรกให้ดูต้นที่สมบูรณ์ มีอายุ 6-8 เดือน (นับจากการปลูกใหม่หรือแทงหน่อใหม่)
1. อันดับแรกให้ดูต้นที่สมบูรณ์ มีอายุ 6-8 เดือน (นับจากการปลูกใหม่หรือแทงหน่อใหม่)


- สังเกตุ ”ใบธง” ของกล้วยต้นนั้นๆ ว่าต้องม้วนแบบหลวมๆ ไม่แน่นและไม่คลี่เกินไป
2.สังเกต ”ใบธง” ของกล้วยต้นนั้นๆ ว่าต้องม้วนแบบหลวมๆ ไม่แน่นและไม่คลี่เกินไป

- วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 1.5 เมตร ทำเครื่องหมายกว้าง 9 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร เพื่อเตรียมเจาะ โดยเลือกเจาะด้านนอกกอฝั่งตรงข้ามของต้นแม่
3.วัด ความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 1.5 เมตร ทำเครื่องหมายกว้าง 9 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร เพื่อเตรียมเจาะ โดยเลือกเจาะด้านนอกกอฝั่งตรงข้ามของต้นแม่

-
 ลงมือเจาะลำต้นกล้วยด้วยมีดปลายแหลม ในตำแหน่งที่ทำสัญลักษณ์ไว้ โดยค่อยๆ กรีดลงไปทีละชั้นของกาบกล้วยจนถึงแกนกลางลำต้นกล้วย แล้วตัดแกนกลางและดึงออก
4.ลง มือเจาะลำต้นกล้วยด้วยมีดปลายแหลม ในตำแหน่งที่ทำสัญลักษณ์ไว้ โดยค่อยๆ กรีดลงไปทีละชั้นของกาบกล้วยจนถึงแกนกลางลำต้นกล้วย แล้วตัดแกนกลางและดึงออก


- นำแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ตอกตรงส่วนบนสุดของช่องที่เจาะ
5.นำแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ตอกตรงส่วนบนสุดของช่องที่เจาะ
- พ่นยากันราให้ทั่วบริเวณที่มีรอยเจาะ

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเจาะลำต้นเพื่อให้กล้วยตกเครือหลังจากนั้นอีกประมาณ1-2สัปดาห์จะเห็นว่ากล้วยจะค่อยๆ แทงเครือออกทางช่องที่เจาะเอาไว้ ก็สามารถดูแล รักษาเครือกล้วยต่อไปจนได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นกล้วยไข่ก็ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน กล้วยหอม 40-60 วัน กล้วยน้ำว้า 80-120 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยง่าย

การบังคับกล้วยออกเครือกลางลำต้นเป็นอีกวิธี หรือเป็นอีกทางเลือกที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อการดูแลจัดการกล้วยได้สะดวกยิ่งขึ้น ป้องกันการโค่นล้มของลำต้น ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย ไม่ต้องมีไม้ค้ำลดค่าใช้จ่าย




เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนิคม วงศ์นันตา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ (081) 951-5287

รูปและข้อมูลจาก http://www.technologychaoban.com

ปลูกกล้วยน้ำว้าให้ขายตลอดปี สูตร อ.กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง

ปลูกกล้วยน้ำว้าให้ขายตลอดปี สูตร อ.กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส นักวิจัยชำนาญการพิเศษ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงจำนวนเกษตรกรและพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้า สายพันธุ์กล้วยน้ำว้า พันธุ์ปากช่อง 50 อันเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์กัลยาณี และคณะ

ลักษณะเด่นกล้วยน้ำว้า พันธุ์ปากช่อง 50


กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2551 ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานเด่นของสถานีวิจัยปากช่อง อันเป็นสถานีที่วิจัยงานทางด้านไม้ผลเขตร้อนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบันถือเป็นสายพันธุ์ดีที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรอย่างกว้างขวาง กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 เกิดจากการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไว้ที่สถานีวิจัยปากช่อง กว่า 10 สายพันธุ์ โดยพบว่าสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้นี้มีคุณสมบัติที่เหมาะในการปลูกเพื่อการค้า


ลักษณะเด่น คือ

- เครือใหญ่ น้ำหนักเครือมากกว่า 30 กิโลกรัม (ไม่รวมก้านเครือ)


- จำนวนหวีมากกว่า 10 หวี - จำนวนผลต่อหวีประมาณ 18 ผล


- ผลกล้วยใหญ่อ้วนดี น้ำหนักผลโดยเฉลี่ยประมาณ 140 กรัม ต่อผล


- ไส้กลางไม่แข็ง ออกสีเหลือง เนื้อแน่น


- เมื่อสุกมีความหวานประมาณ 26 องศาบริกซ์


ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นเป้าหมายสำคัญของการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เกษตรกรในประเทศไทยได้ปลูกกล้วยน้ำว้า ที่ปลูกแล้วให้เครือใหญ่ คุ้มกับการลงทุน และภาคอุตสาหกรรมของกล้วยน้ำว้าจะได้มีการเติบโต


“ปัจจุบันตลาดของกล้วยน้ำว้าในภาพรวมอยู่ในสภาพดี และราคาค่อนข้างดี เพราะมีการนำกล้วยน้ำว้าไปใช้ในอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งยังมีการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ทำให้เกิดความต้องการกล้วยน้ำว้าสูงมากขึ้น”

“ส่งผลทำให้กำไรที่เกษตรกรได้รับสามารถเทียบได้กับการปลูกกล้วยไข่และกล้วยหอม อย่างกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ปลูกเพื่อตัดเครือจำหน่าย ในรายของเกษตรกรที่มีการจัดการบำรุงดูแลดีตามข้อแนะนำ จะมีกำไรจากการปลูก ประมาณ 10,000-12,000 บาท ต่อไร่” อาจารย์กัลยาณีกล่าว

ใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


จาก การทุ่มเทและคลุกคลีกับการปลูกกล้วยน้ำว้ามาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี จึงทำให้อาจารย์กัลยาณีค้นพบเทคนิคการปลูกกล้วยน้ำว้าให้ประสบความสำเร็จ อย่างน่าสนใจ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปลูกกล้วยน้ำว้าของเกษตรกรโดยได้มีการจัดฝึก อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ที่น่าสนใจนี้ให้กับเกษตรกรที่นำกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ไปปลูกมาอย่างต่อเนื่อง


แต่อย่างไรก็ตาม หนึ่งในข้อแนะนำของอาจารย์กัลยาณี คือ การปลูกกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะพันธุ์ปากช่อง 50 นั้น สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ การดูแลรักษาเนื่องจากกล้วยเป็นไม้ผลที่ตอบสนองได้ดีกับสภาพอากาศดินและปุ๋ยเป็นอย่างมาก หากการดูแลรักษาไม่ดี ขาดน้ำขาดปุ๋ย สภาพพื้นที่แห้งแล้งเกินไป กล้วยพันธุ์นี้จะให้ผลผลิตเพียง 7-8 หวีเท่านั้น แต่ผลยังอ้วนใหญ่ ไส้กลางไม่แข็ง เนื้อยังแน่นเหมือนเดิม

 “ดังนั้น อย่างกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ถ้าจะปลูกให้ได้ผลคุ้มค่าสูงสุดจึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาที่ดีควบคู่ไปด้วย”

อาจารย์กัลยาณีกล่าว ในการดูแลรักษานั้น อาจารย์กัลยาณีได้ให้ข้อแนะนำตั้งแต่เรื่องของ พันธุ์กล้วยที่นำมาปลูก ควรใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทดแทนการใช้หน่อที่เคยทำกันมาแบบเดิม การปลูกต้นกล้วยน้ำว้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยทำให้ลดปัญหาการสูญเสียจากการเข้าทำลายของโรคแมลงศัตรูกล้วยน้ำว้าได้เป็นอย่างดี

“ด้วยสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคแมลงมากขึ้นและทำให้เกิดความสูญเสียเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคตายพราย และหนอนกอหรือด้วงงวงเจาะเหง้า ซึ่งจะฝังตัวอยู่ในเหง้า และพบมากในช่วงหน้าแล้ง ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกัน ดีกว่าการไปรักษา ที่ต้องลงทุนสูงมาก ด้วยวิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ”

วิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จะเหมาะสมมากในกรณีที่เป็นพื้นที่ปลูกใหม่ที่ไม่เคยพบการระบาดของโรคแมลงดังกล่าวมาก่อน โดยปลูกชุดแรกเพียงชุดเดียว หลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 7 ก็สามารถขุดหน่อที่ได้มาใหม่ไปปลูกขยายได้ จะทำให้เป็นแปลงปลูกที่ปลอดจากโรคแมลง

“แต่ก่อนนี้ การปลูกต้นกล้วยน้ำว้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นสิ่งที่เกษตรกรไม่ให้การยอมรับ จึงได้มีการจัดทำแปลงสาธิต จัดอบรมเกษตรกรและผู้สนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกด้วยการใช้ต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งตอนนี้เกษตรกรที่เข้ามารับการอบรมได้เกิดความเข้าใจและปรับเปลี่ยนวิธีการหาต้นพันธุ์มาปลูก ทำให้การผลิตต้นพันธุ์ของสถานีในขณะนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการ”

อาจารย์กัลยาณีบอกว่า ดังนั้น ต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ที่ทางสถานีจำหน่ายให้กับเกษตรกรนั้นจะเป็นต้นกล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่มีความสูงมากกว่า 15 เซนติเมตร ซึ่งสามารถลงปลูกในแปลงปลูกได้เลย ในส่วนข้อดีของการใช้ต้นกล้วยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ คือขนย้ายต้นพันธุ์สะดวก ต้นพันธุ์ปลอดจากโรคและแมลงที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ได้แก่ โรคตายพรายและหนอนกอ เจริญเติบโตเร็ว การเก็บเกี่ยวทำได้พร้อมกันจำนวนมาก อีกทั้งสามารถเก็บต้นพันธุ์ไว้ได้นานหากยังไม่พร้อมปลูกลงแปลง เป็นต้น

หลุมปลูกควรใหญ่ ปลูกระยะ 4x4 เมตร


เทคนิคต่อมาคือ เกษตรกรควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีจัดการดูแลแปลงปลูกให้เป็นระบบมากขึ้น อย่างเช่น ในเรื่องของหลุมปลูก ได้แนะนำให้ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เป็นขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาขึ้นโคนหรือโคนลอยช้าลง สามารถอยู่ได้นานถึง 4-5 ปี แล้วจึงรื้อปลูกใหม่


“เพราะระบบรากของกล้วยน้ำว้านั้นจะหากินในรัศมีไม่เกิน 50 เซนติเมตร ทำให้รากสามารถหากินได้มากขึ้น กว่าวิธีการขุดแบบเดิมของเกษตรกรที่ขุดหลุมพอดีกับเหง้า อีกทั้งในกลุ่มปลูกยังมีการใส่ปุ๋ยคอก ทำให้รากชอนลงด้านล่างเพื่อหาอาหาร ทำให้อาการรากลอยจึงช้าลง แทนที่จะเป็น 1-2 ปี รื้อ เกษตรกรมีต้นทุนที่ลดลง”

การไว้ใบกล้วยต่อต้น อาจารย์กัลยาณีบอกว่า เมื่อก่อนเกษตรกรบอกว่า ถ้าต้นกล้วยเป็นโรคต้องตัดใบลงให้มากๆ เพื่อให้แสงเข้า แต่เป็นแนวคิดที่ผิด เพราะต้นกล้วยจะสมบูรณ์ได้มาก ต้องมีใบมากเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงตกเครือ ต้องมีอย่างน้อย 7 ใบ ถ้าต่ำกว่านี้ผลผลิตจะไม่ค่อยดี ดังนั้น จุดแก้ไขตรงนี้จึงต้องไปดูที่ระยะปลูก โดยระยะที่เหมาะสมควรเป็น 4x4 เมตร

“ถ้าปลูกในระยะที่ถี่กว่านี้ จะประสบปัญหาต้นกล้วยในกอจะเบียดกัน เพราะจากที่ศึกษาพบว่า ถ้าปลูกที่ระยะ 2x2 หรือ 3x3 เมตร ในระยะ 1-2 ปีแรก จะได้ผล แต่เมื่อไว้กอ 4-5 ต้น ใน 1 กอ จะพบว่ามีการเบียดกัน เพราะตามนิสัยของต้นไม้จะต้องพุ่งเข้าหาแสง ซึ่งส่งผลทำให้ต้นพุ่งสูงชะลูด แต่ระยะปลูก 4x4 เมตร จะกำลังพอดีกับการเลี้ยงกอของต้นกล้วย 4 ต้น และมีผลทำให้แสงสามารถส่องเข้าถึงพื้นที่ได้ดีด้วย”

แนะระบบไว้หน่อทุก 3 เดือน ให้ออกผลผลิตทั้งปี


อีกปัญหาหนึ่งที่อาจารย์กัลยาณีได้รับการสอบถามจากเกษตรกรคือ จำนวน 1 กอ จะไว้ต้นกล้วยน้ำว้ากี่ต้น อาจารย์ได้ให้ข้อแนะนำว่า


“ถ้าสังเกตจะพบว่าในกล้วยน้ำว้า 1 กอนั้น จะมีขนาดลำต้นเท่าๆ กันหมด และกันให้จำนวนเครือไม่เยอะ เมื่อศึกษาทำให้ได้ข้อมูลว่า ถ้าใน 1 กอ ต้นกล้วยจะอายุเท่ากันหมด อาหารที่ต้นกล้วยจะต้องเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยช่วงที่เจริญเติบโตก็ต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเหมือนกัน และเมื่อตกลูกก็ตกพร้อมกันอีก ต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมพร้อมกัน”

อาจารย์กัลยาณีกล่าวต่อไปว่า ถ้าเกษตรกรใส่สูตรเสมอ หรือคำนวณปริมาณปุ๋ยไม่เป็น การใส่ปุ๋ยนั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์ที่ตรงกับช่วงความต้องการ จึงได้ทำการศึกษาในเรื่องการไว้หน่อตาม ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าสนใจถึงระบบการจัดการหน่อ

“เราทดลองในต้นกล้วยที่อายุ 6 เดือน โดยถ้าพบว่ามีหน่อก่อนหน้านี้ให้ปาดทิ้งทั้งหมด พอหลังจากอายุ 6 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 1 พอหน่อที่ 1 อายุ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 2 หลังจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ให้ไว้หน่อที่ 3 และ 4, 5 ตาม โดยหน่อที่ขึ้นมาในช่วงที่ไม่ได้กำหนดให้ปาดทิ้งทั้งหมด ปรากฏว่า เมื่อจะไว้หน่อที่ 5 ต้นแม่ก็สามารถเก็บเกี่ยวเครือกล้วยได้แล้ว ฉะนั้นจะกลายว่ากอนั้นมีต้นกล้วย 4 ต้น ที่อายุห่างกัน 3 เดือน โดยมีหน่อที่ 1 ที่อายุห่าง 6 เดือน ดังนั้น เมื่อใช้ระบบนี้ต่อไปหลายๆ ปีจะทำให้กล้วยน้ำว้าในแปลงมีอายุห่าง 3 เดือน”

“สาเหตุที่ไว้หน่อทุก 3 เดือน มีเหตุผลว่า ด้วยการออกผลผลิตของกล้วยน้ำว้าในแปลงนั้นจะออกไม่พร้อมกัน ถึงแม้ไว้ใกล้เคียงกัน จะมีการกระจายตัวในการเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน โดยจากข้อมูลที่ศึกษาจากการปลูกกล้วยน้ำว้าด้วยหน่อพบว่า จะมีช่วงแรกที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงกลางๆ จะเก็บได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วงปลายเก็บได้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์

ทีนี้ถ้าค่อยๆ ปลูกหรือไว้หน่อไป กล้วยที่ออกผลในช่วงปลาย 25 เปอร์เซ็นต์ จะไปรวมกับ 25 เปอร์เซ็นต์ของช่วงแรกในอีกแปลงหนึ่ง จะทำให้ได้ผลผลิตรวมเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นทั้งปีด้วยวิธีการนี้ ทำให้สามารถมีผลผลิตกล้วยน้ำว้าจำหน่ายให้กับพ่อค้าได้ตลอดทั้งปีและสามารถต่อรองราคากับพ่อค้าได้ โดยไม่ต้องถูกกดราคาเพราะจำเป็นต้องตัดขายทั้งแปลง”

อาจารย์กัลยาณีกล่าว ในส่วนของหน่อที่เกษตรกรควรเลือกเก็บไว้ในกอ อาจารย์กัลยาณีแนะนำให้เลือก หน่อใบดาบ หรือดูที่โคนต้น ให้เลือกต้นที่โคนใหญ่ๆ ซึ่งแสดงว่ามีอาหารสะสมมาก สมบูรณ์มาก จะเป็นต้นที่ให้เครือใหญ่

“แต่ถ้าเป็นต้นที่ใบใหญ่และมีลักษณะลำต้นเรียวเล็ก หรือถึงแม้ว่าจะเป็นต้นที่เป็นใบดาบ แต่โคนเล็กก็อย่าไปเอา ให้ปาดทิ้งไปเลย นอกจากนี้ หน่อที่จะไว้ควรเป็นหน่อที่ไกลจากต้นแม่หน่อย ประเภทขึ้นติดโคนต้นแม่อย่าไปเอา สาเหตุเพราะต้นกล้วยจริงๆ คือเหง้า หน่อที่แตกมาจากต้นแม่จะเป็นหน่อที่แตกมาจากเหง้า ซึ่งค่อนข้างจะลอยตามต้นแม่ แต่ถ้าเป็นหน่อที่ไกลจากต้นแม่คือ เหง้าที่มุดดินไปแตกใหม่ มีความแข็งแรงเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่ โคนจะลอยช้า”

พร้อมกันนี้ อาจารย์กัลยาณียังได้ให้คำอธิบายต่อไปถึงข้อแนะนำที่ให้ใช้วิธีการปาดหน่อออกแทนที่จะขุดหน่อทิ้งว่า ด้วยการขุดหน่อนั้นจะเป็นการเสียทั้งเวลาและแรงงาน แต่การปาดหน่อ เดือนละ 1 ครั้ง จะเป็นวิธีการที่ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน

“แต่ถ้าต้องการเอาหน่อที่ไม่ต้องการนั้น ขุดขายสามารถทำได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องดูต้นแม่ตกเครือหรือไม่ ถ้าตกเครือไม่ให้ขุดหน่อขาย เพราะจะมีผลกระทบต่อขนาดของลูกกล้วย ถ้าขุดหน่อจะทำให้ลูกกล้วยไม่ใหญ่ มีลักษณะแคระแกร็น ถ้าจะขุดหน่อจำหน่ายให้ขุดเมื่อเครือกล้วยจากต้นแม่แก่พร้อมเก็บเกี่ยวหรือเก็บเกี่ยวเครือกล้วยจากต้นแม่แล้ว และต้นต่อไปยังไม่ตกเครือ เป็นจังหวะที่สามารถขุดหน่อจำหน่ายได้”

9 เทคนิคปลูกกล้วยน้ำว้าให้ได้ผลดี


สำหรับต้นกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ซึ่งมาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปัจจุบันสถานีวิจัยปากช่อง ได้ผลิตจำหน่าย ในราคาต้นละ 35 บาท ซึ่งเกษตรกรที่นำต้นพันธุ์ของสถานีไปปลูกนั้น อาจารย์กัลยาณีบอกว่า มีเทคนิคที่ต้องใส่ใจ ดังนี้


1. คัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 เซนติเมตรขึ้นไป หรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 3.5 เซนติเมตร หากต้นเล็กกว่านี้จะพบปัญหาเรื่องการดูแล และอัตราการตายสูง


2. เตรียมแปลงปลูก ระยะ 3x3 หรือ 4x4 เมตร ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร เพื่อให้ระบบรากเดินดี ขึ้นโคนช้า ระยะปลูกขึ้นอยู่กับการดูแล ถ้าดูแลดี กอกล้วยใหญ่ ควรปลูกระยะ 4x4 เมตร 1 กอ ควรใว้เพียง 4 ต้นเท่านั้น


3. คลุกเคล้าปุ๋ยคอกผสมดินประมาณหลุมละ 2 กิโลกรัม รองก้นหลุมขึ้นมาประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วจึงปลูกต้นกล้วยและกลบบริเวณโคนต้นให้แน่น ทำแอ่งดินรอบต้นเพื่อเก็บน้ำรักษาความชื้นของดิน และควรรองก้นหลุมด้วยฟูราดานป้องกันหนอนกอกล้วยประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อหลุม


4. ปลูกเสร็จให้น้ำตามทันทีให้ชุ่มชื้นพอเพียง ไม่เช่นนั้นต้นจะเหี่ยวเฉา ใบแห้งและยุบตัว บางต้นตาย บางต้นแตกต้นใหม่ขึ้นแทนทำให้อายุต้นไม่สม่ำเสมอกัน


5. ในระยะเดือนแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และดินต้องชุ่มชื้นเพียงพอ เป็นเดือนที่ต้องเอาใจใส่อย่างมาก หากเป็นการให้น้ำแบบฝอยหรือมินิสปริงเกลอร์ จะทำให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว สามารถสร้างใบและลำต้นใหม่ได้ดี โอกาสรอดสูงกว่าการลากสายยางรดน้ำ และเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้น หลังปลูกได้ 1 เดือน และเดือนที่ 2 ส่วนเดือนที่ 3 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทน


6. เดือนที่ 2 และ 3 ต้นกล้วยจะมีต้นและใบใหม่ทั้งหมด ปัญหาคือหญ้าขึ้นคลุมต้น ต้องถากหญ้าบริเวณโคนต้น และฉีดยาฆ่าหญ้าพาราควอต ระหว่างแถว ต้องระวังอย่าให้ละอองยาโดนต้นกล้วย จะทำให้ต้นชะงักและตายได้


7. เดือนที่ 4 การเจริญเติบโตเร็วมาก ทั้งความสูงและรอบวงต้นใกล้เคียงปลูกจากหน่อพันธุ์ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดต้นปลูกเริ่มแรก ถ้าสูง 15 เซนติเมตร ขึ้นไป จะโตทันกัน ถือว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่ต้นรอดตายทั้งหมด การดูแลทำเช่นเดียวกับการปลูกด้วยหน่อ โดยให้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 100-150 กรัม ต่อต้นในเดือนที่ 4 และ 5 ส่วนเดือนที่ 6 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทนและงดใส่ปุ๋ยจนกว่าจะแทงปลี ถึงจะใส่ปุ๋ยเคมีอีกครั้ง จนกระทั่งหลังเก็บเกี่ยวถึงจะเริ่มให้ปุ๋ยในรอบใหม่


8. เดือนที่ 6 หรือ 7 กล้วยเริ่มแทงหน่อ และสะสมอาหารเพื่อการตกเครือ


9. เดือนที่ 9 กล้วยเริ่มแทงปลี การแทงปลีหรือตกเครือจะเร็วหรือช้ากว่าหน่อพันธุ์ ขึ้นอยู่กับขนาดลำต้นปลูกเริ่มแรกและการดูแลรักษา หากต้นพันธุ์ที่มีขนาดความสูง 15 เซนติเมตรขึ้นไป หรือมีเส้นรอบวงต้นมากกว่า 4 เซนติเมตร การตกเครือใกล้เคียงกับหน่อพันธุ์ ขนาด 1 เมตร หากต้นมีขนาดใหญ่กว่านี้ การตกเครือจะเร็วกว่าหน่อพันธุ์ และหากเล็กกว่านี้การตกเครือจะช้ากว่าหน่อพันธุ์ อายุเครือกล้วยจากการแทงปลีจนกระทั่งเก็บเกี่ยวมีอายุประมาณ 4 เดือน เท่ากับหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าทั่วไป


ท่านที่สนใจจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ สถานีวิจัยปากช่อง สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทร. (044) 311-796



ข้อมูล: นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน www.technologychaoban.com

การติดตั้งปั้มน้ำแบบต่างๆ


การติดตั้งปั้มน้ำแบบ 2 ระบบ (กรณีมีถังเก็บน้ำ)






1) กรณีดูดน้ำจากถังเก็บน้ำโดยตรง
1.1 เปิดวาว์ล 1,2 และ 3
1.2 เปิดปั้มน้ำ
2) กรณีน้ำปะปาเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านปั้มน้ำ และถังเก็บน้ำ (น้ำปะปาไหลแรง)
2.1 ปิดวาว์ล 1 และ 2
2.2 ปิดปั้มน้ำ



การติดตั้งปั้มน้ำ 2 ระบบ (ไม่มีถัง)






1) กรณีดูดน้ำจากถังเก็บน้ำโดยตรง (น้ำปะปาไหลอ่อน)
1.1 เปิดวาว์ล 1,2
1.2 เปิดปั้มน้ำ
2) กรณีน้ำปะปาเข้าบ้านโดยตรง ไม่ต้องผ่านปั้มน้ำ (น้ำปะปาไหลแรง)
2.1 ปิดวาว์ล 1 และ 2
2.2 ปิดปั้มน้ำ



การติดตั้งปั้มน้ำแบบ 3 ระบบ














ข้อมูลจาก http://www.thaivestec.com/km/km001.php

กำจัดอ้วนด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

กำจัดอ้วน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน
รูปประกอบจาก internet

Hospital Healthcare : คอลัมน์ 360 องศากับแพทย์ทางเลือก

ความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่ง ตามหลักศาสตร์แพทย์แผนจีน ความอ้วนเกิดจากปัญหาภายในตัวเอง คือม้ามที่เป็นธาตุดิน เผาผลาญไม่ดีทำให้ม้ามอ่อนแอ และระบบขับถ่ายของเสียทำงานบกพร่อง หรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีนบ่งบอกว่า มีไขมัน คอเรสเตอรอล เสมหะ ซีสต์ เนื้องอก รวมเรียกว่า ถาน แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า มี "เสมหะ" สะสมอยู่ข้างใน ทำให้ม้ามอ่อนแอ
คณาเวชคลินิกฯ อธิบายว่า "ถาน" หรือ "เสมหะ" เกิดจากไฟหรือธาตุหยางในกระเพาะพร่อง สาเหตุที่หยางในกระเพาะพร่องเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารเป็นหลัก อาทิ รับประทานของเย็น ไอศรีม น้ำแข็ง น้ำเย็น อาหารที่มีฤทธิ์เย็น ของหวาน ของมันๆ เป็นประจำ รวมถึงถูกความเย็นกระทบบริเวณท้อง ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานบกพร่อง จนอาจกระทบถึงระบบม้าม และในเมื่อกระเพาะอาหารพร่องจึงไม่มีแรงขับดันของเสียลงสู่ลำไส้ ก่อเกิดของเสียตกค้าง แปรสภาพกลายเป็นเสมหะ เมื่อเสมหะสะสมมากขึ้นก็เริ่มเคลื่อนไหวไปอุดตันในอวัยวะต่างๆ กลายเป็นโรคต่างๆ มากมายตามมาได้
ถาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
1."ถาน" ที่มองเห็นสัมผัสได้ หรืออีกความหมายหนึ่ง เราสามารถมองเห็นเสมหะที่ถูกขับออกมา
2. "ถาน" ที่มองไม่เห็น หรืออีกความหมายหนึ่งเป็นเสมหะที่เกาะอยู่ในอวัยวะข้างใน ถ้าไปเกาะที่มดลูกนานๆ เสมหะจะกลายเป็นซีสต์ หรือเนื้องอก
ถ้า "ถาน" ไปเกาะที่ตับนานๆ ไปจะเปลี่ยนเป็นไขมัน ดังนั้น ถ้าจะพิชิตความอ้วนให้อยู่หมัด ต้องทำให้ระบบม้ามแข็งแรง สามารถเผาผลาญได้ดี และสามารถขับสิ่งสกปรกออกมาเป็นอุจจาระ
วิธีการรักษาโรคอ้วนตามหลักศาสตร์แพทย์แผนจีน เริ่มต้นจากการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจดูว่าม้ามอ่อนแอ หรือพร่อง จากนั้นแพทย์จะรักษาตามอาการหนัก เบา ซึ่งขึ้นอยู่กับความอ้วนของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน ถ้าอ้วนมาก เกิดไขมันอุดตัน ในการแพทย์จีนจะใช้วิธีฝังเข็มรักษา ควบคู่กับยาสมุนไพรเพื่อปรับความสมดุล และลดไขมัน เสริมให้ม้ามแข็งแรง เป็นต้น
ตัวยาสมุนไพรจีนที่เข้มข้น อาทิ
ซานจา มีสรรพคุณช่วยย่อยขจัดอาหารตกค้าง
ปั๊วแห่ มีสรรพคุณช่วยขับชื้นละลายเสมหะ กดชี่ย้อนปรับกระเพาะให้สมดุล ระงับอาเจียน สลายเสมหะก้อน
แปะไก้จี่ มีสรรพคุณช่วยขจัดน้ำส่วนเกิน เสมหะใส และเสมหะที่คั่งใต้ผิวหนังได้ดี อีกทั้งยุบบวม
ก๊วกเหม่งจี้ มีสรรพคุณเพิ่มความชุ่มชื้นในลำไส้ ช่วยระบบขับถ่าย ล้างไขมันในตับ บำรุงสายตา
หวยหมั่วยิ้ง มีสรรพคุณ ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ลำไส้ และโสม ช่วยบำรุงหยวนชี่ บำรุงม้าม ใช้รักษาชี่ม้ามพร่องอ่อนแอ ซึ่งการใส่โสมเป็นการเพิ่มพลังชี่ ป้องกันความอ่อนเพลียจาการขับถ่าย และเพิ่มภูมิต้านทาน
โดยเมื่อรวมสมุนไพรทั้งหมด จึงมีสรรพคุณเพิ่มประสิทธิภาพการย่อย ช่วยระบบเผาผลาญ ขจัดของเสียที่คั่งค้าง ลดคอเรสเตอรอล ช่วยระบบขับถ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการขับพิษ เสมหะ หรือของเสียออกจากร่างกาย หรือเพื่อลดน้ำหนัก โดยหากรับประทานติดต่อกัน 1 อาทิตย์ น้ำหนักจะลดลง 1 กิโลกรัม และไม่ทำให้อ่อนเพลีย

ที่มา  http://www.msn.com/th-th/health/other/%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99/ar-BBi8sWe?ocid=iehp

เกลือไผ่ (Bamboo Salt)

เกลือไผ่ ( บันตัน )
Bamboo Salt ( BUNTON )
 " เกลือไผ่ " คือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดและมีประโยชน์มากสำหรับผู้รักสุขภาพ
" เกลือไผ่ " ถูกนำมาใช้เป็นอาหารและเป็นยาพื้นบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณในประเทศเกาหลี

ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพที่มีส่วนผสมของเกลือไม้ไผ่ได้รับการยอมรับ อย่างมากแม้ในหมู่ชาวญี่ปุ่น มีผู้สนใจและรู้เเรื่องเกลือไม้ไผ่มากขึ้น

กรรมวิธีการผลิต " เกลือไผ่ " มีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนมาก เป็นภูมิปัญญาอันเก่าแก่ของประเทศเกาหลี ที่สืบทอดและตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ผู้ผลิตเกลือไม้ไผ่ในประเทศเกาหลีใต้ ใช้เกลือธรรมชาติจากทะเลตะวันตก ซึ่งเป็นเกลือที่ไม่มีสารพิษเช่น สารหนู ตะกั่ว สังกะสี โลหะหนัก ตกค้าง

การผลิต  เกลือไผ่

1.จะบรรจุเกลือในกระบอกไม้ไผ่และเผาด้วยความร้อนสูง ประมาณ 800 องศาเซลเซียส เกลือจะละลายเป็นก้อนเดียวกันมีลักษณะเป็นสีขาว หลังจากนั้นก้อจะนำมาบดและทำการเผาในกระบอกไม้ไผ่รวมทั้งหมด 8 ครั้ง โดยมีดินเหนียวปิดปากกระบอกไม้ไผ่ขณะเผา
2.ในการเผาขั้นตอนสุดท้ายจะเผาด้วยอุณหภูมิสูงมากกว่า 1200 ถึง 2000 องศาเซลเซียส  ในหม้อโลหะ
โดยจะโรยยางสนด้านบน จนเกลือถูกหลอมจนเหลวลักษณคล้ายลาวา อุณหภูมิสูงเป็นพิเศษช่วยให้สิ่งสกปรกใดๆ ที่ยังเหลือจากขั้นตอนแรกจะถูกเผาทิ้ง หลังจากนั้นจะเทลงในแม่พิมพ์เมือเย็นแล้วบดจะได้เกลือไผ่ที่เกลือที่สะอาด มีลักษณะเป็นเกลือสีชมพูและสีขาวนวล

กรรมวิธีการทำ " เกลือไผ่ " ของเกาหลีแตกต่างจากการทำ " เกลือสะตุ " ของไทยที่คนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ของไทยเราเคยทำกันมาแต่โบราณ






สูตรยาดองลุงนาค ลาดหลุมแก้ว (สูตรเมียหย่า)

สูตรยาดองลุงนาค ที่เมียทนไม่ไหวแล้วหนี ลาดหลุมแก้ว



๑.กำลังวัวเถลิง แซ่ม้าทะลาย กำแพงเจ็ดชั้น ม้ากระทืบโรง หนักสิ่งละ ๓๐ กรัม
 ๒.ฝางเสน เทพธาโร ชะเอมไทย หนักสิ่งละ ๖๐ กรัม
 ๓.เถาสะค้าน เจตมูลเพลิง หนักสิ่งละ ๒๐ กรัม
 ๔.ฮ้อสะพายควาย เถาเอ็นอ่อน เถาวัลย์เปรียง กำลังช้างสาร หนักสิ่งละ ๓๐ กรัม
 ๕.ชะเอมไทย ๖๐. กรัม
 ๖.โคคลาน กำลังช้างสาร หนักสิ่งละ ๖๐ กรัม
 ๗.โซดาไม่แช่เย็น หนัก ๓ ขวด
 ๘.หัวกระชายแกง หนัก ๓๐ กรัม
 ๙.สุรามะริด หนัก ๓๐ กรัม
 ๑๐.ชะเอมไทย หนัก ๑๐๐กรัม

ยาดองเหล้าหนึ่งในการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร

ยาดองเหล้าหนึ่งในการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร
 
ยา ดองเหล้า เป็นยาสมุนไพรอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังให้ความสนใจกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทในภาคเหนือ เห็นได้จากมีร้านขายยาดองเหล้าวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป ซึ่งโดยรวมเกือบทุกตำรับจะมีสรรพคุณที่เกี่ยวกับ การบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากการทำงานหนัก จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้แรงงาน มีบางตำรับที่ใช้บำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอดที่อยู่ไฟไม่ได้ และบางตำรับสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาตและเหน็บชาได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายาดองเหล้าบางตำรับเป็นยาบำรุงกำหัดที่ได้ผล จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ชาย
     ถึงแม้จะมีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ทำยาดองเหล้ากันมากขึ้น แต่กลับมีลักษณะการเก็บตัวยาอย่างไม่ถูกวิธี เช่น เก็บแบบขุดรากถอนโคน แล้วนำไปใช้เพียงเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัด คือ สมุนไพรพวกเถาวัลย์ที่มีลำต้นเลื้อยพันขึ้นไปตามยอดไม้ ที่มักจะถูกตัดเอาเพียงส่วนโคนต้น ทำให้ส่วนที่เหลือตายไปอย่างน่าเสียดาย
     วิธีการเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุให้พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการทำยาดองเหล้าเหล่านั้นเริ่มลดลง และมีโอกาสสูญพันธุ์ได้ในอนาคต ดังนั้น จึงควรหาทางอนุรักษ์พืชสมุนไพรเหล่านี้เอาไว้ ประกอบกับความต้องการจะรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในการเตรียมยาดองเหล้า ว่ามีพันธุ์พืชชนิดใดบ้าง ขณะที่คนทั่วไปจะเห็นว่าเป็นเพียงเศษไม้แช่ในโหลดองยาเท่านั้น จึงนำไปสู่การวิจัยเรื่อง "การศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาดองเหล้าในภาคเหนือของไทย" ของ สันติ วัฒฐานะ และทีมงาน จากสำนักวิชาการ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จ.ชียงใหม่ ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในความร่วมมือระหว่าง สกว. และ สวทช.
     ทีมงานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลสูตรตำรับยาดองเหล้า ส่วนของพืชที่ใช้ในการดองเหล้า ปริมาณและสรรพคุณของยาดองเหล้าด้วยการสอบถามจากหมอยาพื้นบ้าน และรวบรวมจากตำรายาล้านนา และเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชสมุนไพรรวมกับหมอยาพื้นบ้านเพื่อนำมาจำแนกชื่อแล้ว ทั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างใน 6 จังหวัด (รวม 17 อำเภอ) ในภาคเหนือของไทย ได้แก่
     :- เชียงใหม่ (อำเภอฝาง เชียงดาว พร้าว แม่แตง แม่ริม อมก๋อย หางดง และสันกำแพง)
     :- ลำพูน (อำเภอแม่ทา)
     :- ลำปาง (อำเภอแจ้ห่ม วาว เถิน ละห้างฉัตร)
     :- พะเยา (อำเภอเชียง ม่วน)
     :- น่าน (อำเภอปัว และบ่อเกลือ)
     :- สุโขทัย (อำเภอคีรีมาส)
     นอกจากนี้ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางนิเวศวิทยา ตลอดจนนำต้นกล้าตัวอย่างพืชสมุนไพรจำนวน 70 ชนิด มาทดลองปลูก และขยายพันธุ์ใน สวนพฤกศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เพื่อประโยชน์ในการทำวิจัยต่อไปในอนาคต
     จากการวิจัยตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2539 - ตุลาคม 2540 ทีมงานวิจัยสามารถรวบรวม สูตรตำรับยาดองได้ทั้งหมด 91 สูตร พบพืชที่ใช้เป็น ส่วนประกอบของยาดองเหล้า 242 ชนิด สามารถจำแนกชื่อทางพฤกษศาสตร์ได้ 209 ชนิด 166 สกุล จากทั้งหมด 77 วงศ์ สามารถจำแนกได้ถึงระดับสกุล 12 ชนิด และยังไม่สามารถจำแนกได้เลย 21 ชนิด ทั้งนี้ พืชสมุนไพรที่จำแนกได้ข้างต้น จัดเป็นพืชป่าและพืชปลูกในภาคเหนือของไทย 189 ชนิด และอีก 32 ชนิด เป็นพืชที่นำมาจากถิ่นอื่น โดยพบว่าเป็นตัวยาที่มีขายตามร้านขายยาแผนโบราณ โดยส่วนใหญ่จะใช้รากแก่น และผลตากแห้ง มาปรุงเป็นยา และ บางชนิดมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ
     สำหรับพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นทำยาดองเหล้าในภาคเหนือ เมื่อพิจารณาจากความถี่ที่พบพืชสมุนไพรเหล่านี้ในตำรับยาดองเหล้าที่นิยมของคนทั่วไป ได้แก่
     :- จะค้าน (Piper sp.) 
          พบกระจายตามป่าดงดิบ และป่าดิบเขาทางภาคเหนือ มีสรรพคุณเป็นยาธาตุ
     :- ฝาง (Caesalpinia sappan) 
          พบกระจายตามป่าผลัดใบ และป่าหินปูนทั่วไปในประเทศไทย แก่นของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ และขับระด
     :- ปิดปิวแดง (Plumbagoindica)
          มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย และถูกนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นพืชสมุนไพรตามบ้านเรือนในประเทศไทย รากของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณในการขับประจำเดือน กระจายลมบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุไฟ เป็นต้น
     :- กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides)
          พบกระจายตามที่โล่ง หรือพื้นที่เปิดใหม่ในที่สูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 - 1,600 เมตร เปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
     :- มะเขือแจ้เครือ (Securidaca inappendiculata)
          พบตั้งแต่อินเดียตอนเหนือถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามป่าริมธารน้ำที่ระดับความสูง 200-700 เมตรของไทย ทั้งต้นของพืชชนิดนี้ใช้ต้ม หรือดองเหล้าเป็นยาแก้ปวดหลังบั้นเอว
     :- รางแดง (Ventilago denticulata)
          พบตามป่าชื้น ริมลำธารทั่วไปในประเทศไทย เถาของรางแดงมีสรรพคุณช่วยแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นตึง เข้ายาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ
     :- พริกไทย (Piper nigrum) 
          พบปลูกอยู่ทั่วไปในแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อนชื้น สำหรับในประเทศไทยพบปลูกมากที่จังหวัดจันทบุรี ผลพริกไทยสามารถขับลม บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร
     :- ฮ่อสะพานควาย (Reissanithia grahamii) 
          พบในอินเดีย พม่า มาเลเซีย และตามป่าดิบริมน้ำในประเทศไทย เถาใช้ดองเหล้าดื่มบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย
     :- กำลังช้างเผือก (Hiptage bengalensis var. candicans) 
          พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีน มาเลเซีย และพบตามป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 300-900 เมตร ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ของไทย แก่นของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณบำรุงกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
     :- ดีปลี (Piper retrofrctum) 
          มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส ในมหาสมุทรอินเดีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีทั่วไปในเอเชียเขตร้อนชื้น เถาของพืชชนิดนี้แก้ลมช่วยเจริญอาหาร ดอกใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ส่วนรากใช้แก้เส้นอัมพฤกษ์ และอัมพาต
     :- จะค้านแดง (Piper sp.) 
          พบตามป่าชื้นในภาคเหนือ มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
     :- โด่ไม่รู้ล้ม (Elephantopus scaber) 
          พบทั่วไปตามทุ่งหญ้า ชายป่าและป่าละเมาะ ตลอดลำต้นของโด่ไม่รู้ล้มมีสรรพคุณแก้เหน็บชา บำรุงหัวใจ บำรุงกำหนัด ขับน้ำเหลืองเสียเป็นยาบำรุงหลังคลอด
     :- เปล้าใหญ่ (Croton oblongifolius) 
          พบกระจายในอินเดียจนถึงอินโดจีน ตามป่าเต็งรัง และป่าผลัดใบ ทั่วไปในประเทศไทย ต้นของเปล้าใหญ่ใช้ต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อย ใบมีสรรพคุณบำรุงธาตุ ผลใช้ดองสุราดื่มขับเลือดหลังคลอด เปลือกต้น และกระพี้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร เหลือต้นและใบสามารถบำรุงโลหิต เป็นต้น
     :- ม้าแม่กล่ำ (Polygala chinensis)
          กระจายในเอเชียเขตร้อนชื้น โดยพบทั่วไปตามป่าดงดิบ หรือป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างชื้น ทั้งต้นของมันใช้ดองเหล้าดื่มแก้ปวดหลังปวดเอว
     :- มะเขือแจ้ป่าแพะ (Polygala crotalarioides) 
          พบตามป่าผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง
     :- มะเขือแจ้ (Solanum aculetissima)
          เป็นพืชปลูกทั่วไป มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด
     :- หัสคืน (Croton birmanicus) 
          ปลูกในพม่า และภาคเหนือของประเทศไทย ใบของพืชชนิดนี้ช่วยแก้เหน็บชา
     :- ลมแล้ง (Cassia fistula) 
          พบกระจายตามป่าผลัดใบในประเทศไทย ฝักของลมแล้งช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนรากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
     :- เขืองแข้งม้า (Leea indica) 
          พบกระจายในอินเดีย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และตามป่าโปร่งค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระดับความสูง 500 -1000 เมตร ในประเทศไทย รากของพืชชนิดนี้แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและช่วยขับลม
     :- จุ่งจาลิง (Tinospora crispa)
          พบตั้งแต่อินเดีย จีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกเป็นพืชสมุนไพรตามบ้าน และพบตามป่า และป่าผลัดใบของไทย เถาและลำต้นช่วยขับเหงื่อ บำรุงกำลัง และช่วยเจริญอาหาร
     :- ขี้เหล็ก (Cassia siamea) 
          พบทั่วไปในเขตเส้นศูนย์สูตร นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มริมทาง รากของขี้เหล็กช่วยให้เจริญธาตุไฟ แก้เหน็บชา บำรุงธาตุ เปลือกช่วยแก้กระษัย แก่นใช้แก้ธาตุพิการ แก้เส้น แก้กระษัยบำรุงโลหิต และใบช่วยเจริญอาหาร
     :- สีเสื้อน้อย (Vitex trifolia)
          นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และยาสมุนไพรทั่วไป รากมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ แก้ปวดตามข้อ ใบใช้บำรุงน้ำดี แก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อ เมล็ดช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย
การปรุงยาบริโภค & การอนุรักษ์พืชสมุนไพร
     ยาดองเหล้าที่ขายทั่วไปเตรียมได้จากการนำพืชสมุนไพรมาแช่ด้วยเหล้า โดยเหล้าจะเป็นตัวทำละลายดึงเอาตัวยาออกมาจากพืชสมุนไพร และยังช่วยถนอมรักษายาไม่ให้บูดเน่าง่าย
     ส่วน ของพืชที่นิยมใช้ทำยาดองเหล้า คือ ราก ลำต้น เถา หรือ แก่น โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เพียงพอตามปริมาณที่ระบุไว้ในแต่ละตำรับ แล้วนำไปห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ในขวดโหล หลังจากนั้นใส่เหล้าลงไปให้ท่วมยาหรือตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ในสูตรของแต่ ละตำรับยา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความช่ำชองของหมอยาแต่ละคน ซึ่งจากการสัมภาษณ์หมอยาดองเหล้าในภาคเหนือจำนวน 37 คน โดยทีมงานวิจัย พบว่าโอกาสที่สูตรยาดองเหล้าทั้ง 91 ชนิดที่ได้จากการสำรวจมีโอกาสเหมือนกันน้อยมาก แต่มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ปรุงยาดองเหล้าเหมือนกัน บางสูตรใช้พืชที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลังหรือบำรุงกำหนัด เพียงชนิดเดียว หรือหลายๆ ชนิดมา รวมกันปรุงเป็นยาดองเหล้า ซึ่งที่มาของสูตรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการบอกต่อๆ กันมา

     ส่วนการตั้งชื่อยาดองเหล้าและแต่ละสูตรนั้น จะนิยมตั้งชื่อให้มีผลทางการค้าที่แสดงถึงความเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มความแข็งแรง หรือบำรุงกำหนัด เช่น กระโดนกำแพง สาวน้อยตกเตียง โด่ไม่รู้ล้ม กำลังเสือโคร่ง และแสนนางวาน เป็นต้น และจากการตรวจค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องของทีมงานวิจัย พบว่าพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ดองเหล้ามีสรรพคุณจริงในการบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงกำหนัด แก้ปวดเมื่อย ฯลฯ 
     อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบริโภคยาดองเหล้าในปริมาณที่มากเกินไป ควรดื่มวันละไม่เกิน 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้าและเย็นและในแต่ละครั้งควรดื่มประมาณ 1 ถ้วยตะไล (30 ซี.ซี.) สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีอาการแพ้เหล้า ไม่ควรดื่มยาดองเหล้าสมุนไพรเหล้านี้
     ในขณะเดียวกัน จากการวิจัยยังพบว่า พืชสมุนไพรบางชนิดที่ชาวบ้านหรือหมอยาพื้นบ้านนำมาใช้ดองเหล้า เช่น ดองดึง สลอดหรือมะข่าว หานช้างร้อง เมล็ดมะเติ่ง และเมล็ดสะบ้านั้น ถ้าหากบริโภคเข้าไปโดยปรกติอาจเป็นพิษถึงตาย แต่หมอยาพื้นบ้านได้อธิบายว่า เมื่อนำพืชเหล่านี้มาปรุงเป็นยาดองจะถูกตัวยาจากพืชชนิดอื่นที่ปรุงผสมไปด้วย หักล้างความเป็นพิษออกไป หรือได้นำพืชเหล่านั้นไปปิ้ง หรือคั่วไฟตามวิธีการทำลายพิษของพืชแต่ละชนิด เป็นต้น
     อย่าง ไรก็ตาม ทีมงานวิจัยมีความเห็นในเรื่องนี้ว่าพืชที่มีความเป็นพิษข้างต้น ไม่ควรนำมาปรุงเป็นยาก่อนที่จะได้รับการวิจัยตรวจสอบว่าปลอดภัย อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการลดจำนวนลงของพืชสมุนไพรในภาคเหนือของไทย เนื่องจากการเก็บพืชสมุนไพรออกมาจากป่ามากเกินไป 
     ซึ่งทีมงานวิจัยได้เสนอว่า "ควรรณรงค์ให้ชาวบ้านและหมอยาท้องถิ่นพื้นบ้าน นำพืชสมุนไพรออกจากป่าสำหรับพอใช้ในการปรุงยาแต่ละครั้งเท่านั้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ให้คงอยู่ในท้องถิ่นตลอดไป"

ที่มา  http://ittm-old.dtam.moph.go.th/data_all/articles/article14.htm

ยาอายุวัฒนะ อายุยืน ๑๓๐ ปี


中国公开验方浸酒药 
简介此药方是中国湖南老中药师,一百三十岁,向中国政府最高当局报献的祖传秘方
川续继二钱  孰地三钱  肉桂二钱  陳皮三钱  姜活二钱  
枸杞三钱  茯苓二钱  防风三钱  枣仁三钱  玉竹二钱  
杜仲三钱  木瓜二钱  川芎二钱  灵仙二钱  蓁丸二钱  
牛七三钱   大枣二钱  元茴三钱  沙参三钱   前胡二钱  
白芍三钱  甘草二钱

浸法:以上各药和白酒三瓶加入冰糖半斤,浸半个月后可服用。
服法:临睡时,服半杯或一杯。
功效:有病治病,无病延年益寿。
主治:遗精, 失眠,消食,壮身,腰痛,背痛,
 身体虚弱,妇人月经不调,血脉,驱风湿,  
白发转黑, 十多种病等整。
ประเทศจีนเปิดเผยตำรับยาสมุนไพรดองเหล้าผ่านการทดสอบแล้ว
ตำรับลับยาสมุนไพรจีนที่สืบทอดจากบรรพบรุษของเภสัชกรสมุนไพรอาวุโส มณฑลหูนาน อายุ 130 ปี มอบแก่หน่วยงานระดับสูงของรัฐบาลจีน
ส่วนประกอบสมุนไพรจำนวน 22 ชนิด
川续继二钱  孰地三钱  肉桂二钱  陳皮三钱  姜活二钱  
枸杞三钱  茯苓二钱  防风三钱  枣仁三钱  玉竹二钱  
杜仲三钱  木瓜二钱  川芎二钱  灵仙二钱  蓁丸二钱  
牛七三钱   大枣二钱  元茴三钱  沙参三钱   前胡二钱  
白芍三钱  甘草二钱

วิธีดอง สมุนไพรข้างต้นและเหล้าขาว 3 ขวด เติ่มน้ำตาลกรวด 250 กรัม หมักครึ่งเดือนแล้วใช้รับประทาน
วิธีรับประทาน รับประทานก่อนนอน ครั้งละ ½ - 1 แก้ว
สรรพคุณ มีโรครักษาโรค ไม่มีโรคยืดอายุชีพยืนยาว
รักษาโรค จิตใจเลื่อนลอยขาดสมาธิ นอนไม่หลับ ย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย ปวดเอว ปวดหลัง ร่างกายอ่อนแอ สตรีรอบเดือนไม่ปกติ ชีพจร ขับลมชื้น (รูมาติซึ่ม Rheumatism) ผมหงอกกลับดำ รวม 10 กว่าชนิด
(แหล่งที่มา.- ถูเถว แซ่อึ๋ง อายุ 97 ปี ชุมชนคนฮากกา "ห้วยกระบอก" บ้านโป่ง ราชบุรี)
ขอให้ทุกท่านมีอายุเกิน 130 ปี สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคาพยาธิ 

ที่มา  http://hakkapeople.com/node/2616

สมุนไพรบำรุงกำลัง (Herbs Nourishes)

Young Antler (เขากวางอ่อน)
ลักษณะ เขากวางอ่อนคือเขาของกวางที่ยังไม่แก่เต็มที่ เนื้อของเขาไม่แกร่งเหมือนเขากวางที่แก่เต็มที่ รสจืด
สรรพคุณ เชื่อกันว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายโดยเฉพาะในเรื่องทางเพศ
ตำราแพทย์สมัยราชวงศ์ถัง บันทึกไว้ว่า เขากวางอ่อนเป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่า เขากวางอ่อนเป็นยาบำรุงที่ให้ผลต่อการผงาดกล้าแข็งของลำองคชาติ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียพบว่าเขากวางอ่อนมีสรรพคุณในการฟื้นฟูหัวใจให้แข็งแรง เสริมสร้างขบวนการย่อยและขับถ่ายของกระเพาะอาหารให้ดีขึ้น และฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่อ่อนล้าให้กลับมามีพลัง
วิธีการใช้ นำเขากวางอ่อนมาบดให้ละเอียด นำมาผสมกับเครื่องดื่มวันละสองครั้ง ครั้งละ 0.3 กรัม ถึง 1 กรัม หรือใช้ผสมกับเหล้าก็ได้


Fish Maw (กระเพาะปลา (แท้))
ลักษณะ ส่วนที่เรียกว่ากระเพาะปลาหรือฮื้อเพียวคือถุงลมของปลา รสจืด
สรรพคุณ มีสรรพคุณบำรุงไตและอวัยวะสืบพันธุ์ เสริมสร้างน้ำเชื้อ ฟื้นฟูช่องสังวาสให้กระชับยืดหยุ่น รักษาอาการหลั่งเร็ว(เรือล่มปากอ่าวในบุรุษ) นอกจากนี้กระเพาะปลายังมีสรรคุณช่วยห้ามเลือด ป้องกันการเป็นมะเร็ง จึงมีการนำมาเป็นยารักษาโรคเลือดออกชนิดต่างๆ และมะเร็งที่กระเพาะอาหาร
วิธีการใช้ นำกระเพาะปลามาประกอบอาหาร เช่นนำมาทำน้ำแกงโดยสามารถนำอาหารอื่นต้มรวมกับกระเพาปลาได้ด้วย หรืออาจจะปรุงตามสูตรนี้ ซึ่งต้องหาซื้อจากร้านขายยาจีนโบราณคือ กระเพาะปลา 5 กรัม ซัวอวงเกี้ย 3 กรัม โท่วซีเกี้ยว 5 กรัม สามอย่างนี้ใส่พร้อมกันเติมน้ำ 500 ซีซี ต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วแบ่งเป็นสามส่วน รับประทานวันละสามเวลา


หนอนเก้าเฮียงทั้ง
ลักษณะ หนอนเก้าเฮียงทั้งเป็นหนอนตากแห้ง ปกติหนอนชนิดนี้จะกินต้นซุงซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในประเทศจีน เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนยาวมีผลรับประทานได้ หนอนเก้าเฮียงทั้งจึงกลายเป็นยาไปโดยปริยาย รสจืด
สรรพคุณ บำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อย ช่วยเพิ่มสมรรถนะให้ใตในการซักฟอกของเสีย สามารถทำให้องคชาติที่อ่อนล้ากลับคืนความแข็งขืนได้
วิธีการใช้ ให้เอาหนอนเก้าเฮียงทั้งมาย่างจนกรอบแล้งนำมาบดให้ละเอียด ใช้เนื้อหนอน 10 กรัม ใส่น้ำ 500 ซีซี ต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็นสามส่วน รับประทานวันละสามเวลา


Panax Ginseng (โสมคน (หยิ่งเซียม))
ลักษณะ เป็นส่วนของรากมีรูปร่างคล้ายคนจึงเป็นที่มาของชื่อโสมคนหรือหยิ่งเซียม รสหวานกลมกล่อม
สรรพคุณ โสมคนได้รับการขนานนามว่าเป็นยาเทวดามีสรรพคุณบำรุงทั้งสติและกำลัง นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้กระเพาะลำไส้แข็งแรง ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยรักษาโรคบิด และใช้บรรเทาอาการอาเจียน
วิธีการใช้ นำโสมคน 5 10 กรัม ใส่น้ำ 500 ซีซี ต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา หรือจะนำโสมคนแช่เหล้าจิบทุกวัน ๆ ละนิดก็ได้


Lycium Chinense (เก๋าคี่)
ลักษณะ เก๋าคี่เป็นชื่อต้นไม้ที่ใช้ทำยาอายุวัฒนะ ไม่ว่าผลใบกิ่งก้านหรือรากล้วนเป็นยาบำรุงกำลังที่ให้ผลดียิ่ง มีการนำผลเก๋าคี่มาทำเป็นเหล้าซึ่งมีชื่อเสียงมาก ผลเก๋าคี่มีสีแดง รสหวานกลมกล่อม
สรรพคุณ ไม่เพียงบำบัดอาการเมื่อยล้าอ่อนเพลีย หากดื่มวันละก้งจะทำให้สีหน้ามีเลือดฝาดอมชมพู คนที่ผอมแห้งแรงน้อยจะเปลี่ยนเป็นคนร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
วิธีการใช้ ใช้เหล้าเก๋าคี่ 500 ซีซี ใส่ลูกเก๋าคี่ 1.5 กรัม นำไปต้ม พอเดือดนำน้ำตาลทรายใส่ลงไป หรือใช้น้ำเปล่า 500 ซีซีแทนเหล้า ต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็นสามส่วน รับประทานวันละสามเวลา


อึ้งเจ็ง
ลักษณะ อึ้งเจ็งเป็นกิ่งกอและรากของต้นแปะฮะ มีสีดำ รสกลมกล่อมหวามอมเปรี้ยว
สรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย มีสรรพคุณดุจยาเทวดา ถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยม คนที่ดื่มอึ้งเจ็งเป็นประจำจะมีอายุยืนยาวเป็นร้อยปี แม้จะมีอายุมากเข้าสู่วัยชราแต่ร่างกายยังดูสดชื่นกระปรี้กระเปร่าเหมือนคนวัยสามสิบ ถ้าดื่มอึ้งเจ็งแช่เหล้าก่อนทำกิจกาม หลังเสร็จกิจการร่วมเพศแล้วจะไม่รู้สึกอ่อนเพลียหรือหมดกำลัง นอกจากนี้คนที่กามตายด้านองคชาติอ่อนล้ากินอึ้งเจ็งก็ได้ผลดีเช่นกัน
วิธีการใช้ ให้ใช้น้ำ 400 ซีซี ต่ออึ้งเจ็ง 10 กรัม ต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งเป็นสามส่วน รับประทานวันละสามเวลา หรือจะใช้ดองเหล้าดื่มก็ได้เช่นกัน


โต่วต๋ง
ลักษณะ โต่วต๋งเป็นชื่อของต้นไม้ที่มีกิ่ง ก้าน เปลือก และใบ นำมาทำยาบำรุงได้ ในเปลือกของต้นโต่วต๋งจะมียางชนิดหนึ่งสีขาวเหนียวข้นเป็นเส้นใย รสจืด
สรรพคุณ เป็นยาบำรุงเสริมสร้างความแข็งแรง และสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดได้ด้วย
วิธีการใช้ นำโต่วต๋งมาต้มหรือดองกับเหล้า


ซัวอวงเกี้ย
ลักษณะ ซัวอวงเกี้ยเป็นสมุนไพรประเภทฝักถั่ว ส่วนใหญ่ก่อนใช้จะตากให้แห้งสนิท
สรรพคุณ ซัวอวงเกี้ยเป็นสมุนไพรที่ชาวจีนใช้มาแต่โบราณ มีสรรพคุณบำรุงไต เสริมสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าไตหย่อนสมรรถภาพมีอาการไม่ใคร่ดี ปัสสาวะน้อยเกินไป หรือรู้สึกเสียการควบคุมในการปัสสาวะ เอวไม่มีกำลังหรือเจ็บเอว ทั้งยังสามารถใช้เป็นยาเสริมสร้างความแข็งแรง
วิธีการใช้ ใช้ซัวอวงเกี้ย 10 กรัม ต่อน้ำ 500 ซีซี นำไปต้มให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา ถ้าจะเสริมกำลังให้ดียิ่งขึ้น ให้นำโต่วต๋งและโท่วซีเกี้ย ใส่ลงไปต้มด้วยกัน


ฮ้อซิ่วโอว
ลักษณะ ฮ้อซิ่วโอวเป็นรากของหวายมีเนื้อสีดำ รสจืด
สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะเสริมสร้างความแข็งแรง บำรุงประสาท ฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวให้กลับกระชุ่มกระชวย ทำให้ผมขาวกลับดำราวกับเป็นยาเทวดา นอกจากนี้ฮ้อซิ่วโอวยังสามารถปรับสภาพกระเพาะลำไส้ ขับถ่ายได้ดี อีกทั้งสามารถใช้รักษาริดสีดวงทวารได้ด้วย
วิธีการใช้ นำรากหวายฮ้อซิ่วโอว 10 12 กรัม ต้มกับน้ำ 500 ซีซี ให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา


อิ้มเอี้ยชัก ใบถั่วแพะตัณหา
ลักษณะ อิ้มเอี้ยชักเป็นพืชที่เกิดในป่าเบญจพรรณตามเนินเขาเตี้ยๆ ในช่วงเดือน 4 5 จะออกดอกสีม่วงและสีแดง เป็นอาหารของสัตว์ชนิดหนึ่งในมณฑลเสฉวนเรียกว่า อิ้มเอี้ย(สัตว์จำพวกแพะ) ซึ่งกินใบถัวชนิดนี้เป็นประจำจึงเป็นที่มาของชื่อ อิ้มเอี้ยชัก สัตว์ชนิดนี้มีความสามารถที่จะผสมพันธุ์ได้วันละนับร้อยครั้ง อิ้มเอี้ยชักมีอีกชื่อหนึ่งว่ายาทิ้งไม้ ความหมายก็คือคนที่มีอายุเมื่อรับประทานยานี้แล้วจะสามารถละทิ้งไม้ที่ใช้พยุงได้ รสหวานอมเปรี้ยว
สรรพคุณ ใบถั่วอิ้มเอี้ยชักมีสรรพคุณในการบำรุงสติกำลัง และใช้เสริมสร้างความแข็งแรงสำหรับผู้ที่เส้นประสาทอ่อนแอ ร่างกายส่วนล่างเป็นอัมพฤกษ์ ส่วนรากของต้นถั่วอิ้มเอี้ยชักมีสรรพคุณบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
วิธีการใช้ นำอิ้มเอี้ยชัก 10 กรัม ต้มกับน้ำ 500 ซีซี ให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา หรือใช้อิ้มเอี้ยชัก 1.8 กรัม แช่กับเหล้า 200 ซีซี พร้อมใส่น้ำตาลทรายลงไป ดื่มวันละสองครั้งๆ ละ 20 ซีซี


Radix Codonopsis Pilosulae (ตั้งเซียม)
ลักษณะ ตั้งเซียมเป็นรากของหญ้ากิ๊กแก้ ซึ่งใบใช้ทำยาได้ รสหวาน
สรรพคุณ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงเลือดลม ม้ามและกระเพาอาหาร เสริมสมรรถภาพทางเพศ
วิธีการใช้ นำตั้งเซียม 10 กรัม ต้มกับน้ำ 500 ซีซี ให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา


โป้วกุจี
ลักษณะ เป็นพืชสมุนไพรประเภทถั่ว ส่วนที่นำมาใช้คือเมล็ด มีรสรสกร่อยออกหวานเล็กน้อย
สรรพคุณ บำรุงกระดูกและไขข้อ นอกจากนี้ยังใช้เพิ่มความร้อนให้กับกระเพาลำไส้และไต ใช้เพิ่มกำลังให้เอวเสริมสร้างความแข็งแรงและตื่นตัวให้กับองคชาติ ใช้ได้กับผู้ที่กลัวความเย็นปัสสาวะบ่อย
วิธีการใช้ นำโป้วกุจี 10 กรัม ต้มกับน้ำ 500 ซีซี ให้เหลือครึ่งหนึ่ง แบ่งรับประทานวันละสามเวลา


Poria Coccos (ฮกเหล็ง)
ลักษณะ เป็นส่วนของเนื้อในและเปลือกนอก มีรสจืดออกหวานเล็กน้อย
สรรพคุณ ช่วยการไหลเวียนของน้ำในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะเสริมสมรรถภาพทางเพศ เสริมความจำ


Radix Morinda Officinalis (ปาเก็ก)
ลักษณะ เป็นส่วนของเนื้อในและเปลือกนอก มีรสจืดออกหวานเล็กน้อย
สรรพคุณ ช่วยการไหลเวียนของน้ำในร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ เสริมสมรรถภาพทางเพศ เสริมความจำ