ธาตุอาหารพืช






ธาตุอาหารคืออะไร


คนเรากินสัตว์และพืชเป็นอาหาร พืชกินแร่ธาตุเป็นอาหาร อาหารของพืช เรียกว่า ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืช มีอะไรบ้าง

ธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชมี ทั้งหมด 16 ธาตุอาหาร 3ธาตุอาหารได้มาจากน้ำและอากาศ คือ ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุอาหาร จะมีอยู่ในดิน และในดินมัก จะขาดธาตุอาหาร เหล่านี้

ธาตุอาหารหลัก

1.ไนโตรเจน ( N ) 2. ฟอสฟอรัส ( P ) 3. โปรแตสเซียม ( K )

ธาตุอาหารรอง

1. แคลเซียม 2. แมกนีเซียม 3. กำมะถัน

ธาตุอาหารเสริม


1. เหล็ก 2.ทองแดง 3. สังกะสี 4.แมงกานีส 5.โบรอน 6.โมลิบดีนั่ม 7. คลอรีน

ปัจจุบันธาตุอาหารทั้ง 13 ธาตุ ที่มีอยู่ในดินมีปริมาณลดลงไปมากแล้ว เกษตรกร จำเป็นต้องหาธาตุอาหารเหล่านี้ เติมให้กับดิน แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรใช้แต่ปุ๋ยเคมีที่มีเฉพาะ NPK ซึ่งมีธาตุอาหารไม่เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต ของพืช เมื่อพืชขาดธาตุอาหารก็แสดง อาการผิดปกติออกมาให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นโรคใบไหม้ ใบติด ต้นแคระแกรน ผลบิดๆ เบี้ยวๆ ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจผิด หรือหาสาเหตุไม่เจอว่าเกิดจากอะไร เลยหันไปพึ่ง สารเคมีต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ พอสารเคมีหมดฤทธิ์พืชก็แสดงอาการผิดปกติออกมาอีก เลยแก้ไข ไม่ได้เสียที นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีต่าง ๆ จะส่งผลให้ดิน เกิดการตึงตัวหรือ ดินเป็นกรด เมื่อดินเป็นกรดทำให้ปุ๋ยที่เกษตรกรใส่ลงไปในดิน พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ ทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ย และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยปกติแล้วปุ๋ยสามารถเกิดการสูญเสียได้ 3 ทาง คือ

• การระเหย
• การพัดพาของน้ำ
• การซึมผ่านรากเร็วไป

จากทั้ง 3 สาเหตุนี้เกิดการสูญเสียปุ๋ยประมาณ 80 % ส่วนอีก 20 % ที่เหลือถ้า ดินเป็นกรด ธาตุอาหารก็จะเปลี่ยน สภาพอยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เกษตรกรจำเป็นต้องเติมธาตุอาหาร ที่มีแร่ธาตุทั้ง 16 ชนิด ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชโตเร็ว สร้างภูมิต้านทางโรคต่าง ๆ ได้นอก จากนี้ ธาตุอาหารยังมีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน แก้ปัญหาดินเสีย ทำให้ดินร่วนซุย และ สามารถยับยั้ง เชื้อราเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหาโรครากเน่า โคนเน่าได้ด้วย เมื่อปัญหา หมดลงจะทำให้พืชทุกชนิดโตเร็ว เพิ่มผลผลิตมากขึ้น ผลกำไรก็มากตามเช่นกัน

แผนภูมิแสดงหน้าที่และการทำงานของธาตุต่างๆ 


แผนภูมิแสดงหน้าที่และการทำงานของธาตุต่างๆ 

ธาตุอาหารรอง

ธาตุแคลเซียม (Ca) มีคุณสมบัติ ช่วยส่งเสริมการนำไนโตรเจนมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ช่วยลดหรือปรับสภาพความพอดีของฮาร์โมนพืช
แคลเซียมช่วยให้รากและใบเจริญเติบโตแข็งแรงและมีสุขภาพดี ช่วยต่อต้านจากการถูกทำร้ายจากภายนอก หลักการทำงานก็เหมือนกับยาสีฟันที่เราๆใช่กันทุกวันนี้แหละครับ มีแคลเซียมผสมด้วยทั้งนั้น เพราะจะช่วยทำให้ฟันแข็งแรง ไม่ผุกร่อนได้ง่าย กับต้นไม้เช่นกันจะช่วยให้ลำต้นและความต้านทานภายนอกของต้นไม้แข็งแรงขึ้น แคลเซียมยังช่วยในเรื่องเพิ่มการดูดซึมของสารอาหารอื่น ๆ โดยรากส่วนหนึ่งจะทำการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ทั้งระบบเอ็นไซม์ช่วยเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนโตรเจน และมีส่วนจำเป็นในการสร้างโปรตีนรวมถึงการสร้างผนังเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช มีผลก่อให้เกิดความต้านทานโรคที่ดีขึ้น แคลเซี่ยมแมกนีเซียมและโพแทสเซียมจขะทำงานร่วมกันเพื่อปรับสภาพกรดที่เหมาะสมในสารอินทรีย์ (ในดิน) ที่จะมีผลระหว่างการเผาผลาญอาหารในพืช
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช-มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้
-ช่วยเสริมสร้างเซลล์และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
-ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช
-ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืช
-ช่วยเพิ่มการติดผล
-ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
-ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
-ช่วยป้องกัน ผลร่วง ผลแตก
-มีบาทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
-มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน
-เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช
-เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแคลเซียม-ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะหดสั้นและเหี่ยว แม้ว่าใบเก่าจะมีธาตุแคลเซียมอยู่ เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายจากใบเก่าสู่ใบใหม่
-ใบอ่อนที่ขาดธาตุแคลเซียมจะมีสีเขียวแต่ปลายใบจะเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและจะตายในที่สุด
-ถ้าขาดธาตุแคลเซียมที่บริเวณขั้วหรือข้อต่อของผลจะทำให้เกิดแก๊สเอธีลีน(Ethylene) ทำให้ผลร่วง
-พืชหลายชนิดที่ขาดธาตุแคลเซียม เช่น มะเขือเทศ แตงโม พริก แตงกวา จะเกิดการเน่าที่ส่วนล่างผล,
-ในผักขึ้นฉ่ายจะแสดงอาการไส้ดำ, ในแครอดจะแสดงอาการฟ่ามที่หัว, ในแอปเปิลจะมีรสขม,
-ในมันฝรั่งจะแสดงอาการเป็นสีน้ำตาลบริเวณกลางหัว,
-ในพืชลงหัวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหัว(หัวไชเท้า) หอม กระเทียม จะแสดงอาการไม่ลงหัว หรือลงหัวแต่หัวจะไม่สมบูรณ์
-ในพืชไร่ ต้นจะแตกเป็นพุ่มแคระเหมือนพัด แสดงอาการที่ราก คือ รากจะสั้น โตหนามีสีน้ำตาล ดูดอาหารไม่ปกติ
-ในระยะพืชออกดอก ติดผล ถ้าพืชขาดธาตุแคลเซียม ตาดอกและกลีบดอกจะไม่พัฒนา ดอกและผลจะร่วง
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแคลเซียม-ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
-เมื่อให้ธาตุไนโตรเจนมาก
-เมื่อให้ธาตุโพแทสเซียมมาก
-เมื่อพืชแตกใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะมีธาตุแคลเซียม ทั้งนี้เนื่องจากธาตุแคลเซียมไม่เคลื่อนย้ายในพืช
-เมื่อพืชแตกใบอ่อนต้องให้ธาตุแคลเซียมอยู่เสมอ
-ธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ
-ธาตุแคลเซียมจะสูญเสียไปในดิน กลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งพืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้
-ในดินที่เป็นกรด จะตรึงธาตุแคลเซียมไว้ ทำให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้


ธาตุแมกนีเซียม ( Mg) มีคุณสมบัติ ช่วยเสริมสร้างคลอโรฟิลล์
แมกนีเซียม มีบทบาทในการเจริญเติบโตของพืช เและยังป็นอะตอมกลางในคลอโรฟิล รับผิดชอบในการสังเคราะห์แสงและกระบวนการที่พืชเปลี่ยนแสงแดดและสารอาหารในการเจริญเติบโต เป็นธาตุอาหารที่พบมากที่สุดในสารสีเขียวของพืชก็คือคลอโรฟิลเช่นเดียวกับฟอสฟอรัส และหน้าที่สำคัญอีกอย่างของแมกนีเซียมก็คือมันจะมีหน้าที่ย้ายตัวเองจากใบเก่าๆแก่ๆของพืชเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตให้กับใบที่แตกออกมาใหม่ นี่ถึงเป็นเหตุผลอีกอย่างว่าการที่ใบอ่อนเจริญเติบโตช้า ก็เพราะเกิดจากการที่ขาดธาตุแมกนีเซียมด้วยเช่นกันครับ เราจะสังเกตุการขาดธาตุตัวนี้ได้อีกอย่างคือสังเกตุจากการดูสีและเส้ยใยของใบ ถ้าพืชขาดแมกนีเซียมใบที่แก่แล้วจะมีสีเทา สีเหลือง หรือ สีแดงในขณะที่เส้นใบเป็นสีเขียว
หน้าที่สำคัญของธาตุแมกนีเซียมในพืช-เป็นตัวจักรสำคัญในการช่วยเสริมสร้างสารคลอโรฟีลล์ หรือความเขียวในพืช ช่วยให้พืชปรุงอาหารได้ดีขึ้
-ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุฟอสฟอรัสได้ดีขึ้น
-มีส่วนสำคัญในการสังเคราะห์แสง
-มีส่วนสำคัญเกี่ยวกับการสุกการแก่ของผลผลิต
-ช่วยให้พืชเพิ่มการใช้ธาตุเหล็กมากยิ่งขึ้น
-เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของน้ำย่อยต่าง ๆ ของพืช เคลื่อนย้ายภายในพืชได้ดี
-ช่วยเสริมสร้างให้พืชไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น
-ช่วยเสริมสร้างให้พืช มีความต้านทานต่อโรคพืชต่าง ๆ
-พืชอาหารสัตว์ ถ้าขาดธาตุแมกนีเซียม จะเป็นสาเหตุของพืชอาหารสัตว์เป็นพิษ
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม-จะทำให้ต้นเล็กแคระแกรน ใบเหลือง
-ในใบแก่จะมีสีซีดจาง ไม่เขียวสดใส และเมื่อแตกใบอ่อนก็จะมีสีซีดจางเช่นเดียวกัน และธาตุแมกนีเซียม สามารถเคลื่อนย้ายในพืชได้
-เมื่อใบแก่ขาดธาตุแมกนีเซียม ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ก็จะขาดด้วย ใบจะเป็นสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด
-ผลจะสุกแก่ช้ากว่าปกติ
-ในพืชตระกูลถั่วจะทำให้พืชไม่ค่อยจะลงฝัก และจะทำให้แบคทีเรียที่รากถั่ว ไม่จับธาตุไนโตรเจนไว้ได้ดีเท่าที่ควร
-ในพืชอาหารสัตว์จะให้ผลผลิตต่ำ และทำให้พืชอาหารสัตว์เป็นพิษ

สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุแมกนีเซียม-ในดินที่มีค่าของความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ระหว่าง 4.0-7.0 และ 8.5 ขึ้นไป
-ในดินที่มีปริมาณของธาตุแมกนีเซียมต่ำ
-ในดินที่มีธาตุแคลเซียม โพแทสเซียม และโซเดียมมาก
-ในดินที่มีปริมาณของเกลือมาก เช่น พวกเกลือโซเดียม
-ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ดินเย็น หรือมีอุณหภูมิต่ำ
-ในระยะที่พืชแตกใบอ่อน
-ในระยะที่พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนมาก

ธาตุซัลเฟอร์ ( S ) มีคุณสมบัติ ช่วยในการหายใจเพื่อให้พลังงาน
กำมะถันเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกรดอะมิโนซึ่งเป็นหน่วยการสร้างของโปรตีนที่พบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด และจำเป็นมากในพืชที่มีลักษณะเป็น หัว หรือ เหง้าที่อยู่ใต้ดินและยังมีผลกระทบกับกลิ่นและรูปร่างลักษณะด้วย

หน้าที่สำคัญของธาตุกำมะถัน-ธาตุกำมะถันเป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน(Amino acids) พืชต้องการธาตุกำมะถันเพื่อสังเคราะห์กรดอะมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ซีสตีน(Cystine) ซีสเตอีน(Cysteine) และเมทธิโอนีน(Methionine) ดังนั้นจึงมี
ส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีน, กรดอะมิโนเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งคนและสัตว์ด้วย
-ธาตุกำมะถันจะช่วยในการควบคุม ชนิดและโครงสร้างของเม็ดสีคลอโรพลาสต์ ซึ่งภายในประกอบด้วย
คลอโรฟีลล์เป็นแหล่งที่พบกำมะถันสะสมอยู่มาก เมื่อพืชขาดธาตุกำมะถันปริมาณของคลอโรฟีลล์จะลดลงทำให้พืชมีสีเหลืองซีด
-ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชทนทานต่ออุณหภูมิที่เย็น และต้านทานต่อโรคพืชหลายชนิด
-ช่วยสนับสนุนการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วและกระตุ้นการสร้างเมล็ด
-มีส่วนสำคัญในการเกิดน้ำมันพืชและสารระเหยให้หัวหอมและกระเทียม
การแสดงอาการของพืชที่ขาดธาตุกำมะถัน-พืชจะแคระแกรนหยุดการเจริญเติบโต
-ใบอ่อนมีสีเขียวจางลง รวมทั้งเส้นใบจะมีสีจางลงด้วย แต่ในใบแก่จะยังคงมีสีเขียวเข้ม
-ถ้าพืชขาดธาตุกำมะถันมาก พืชจะพัฒนาการเจริญเติบโตได้ช้า
-ลำต้นพืชจะสั้นและแคบเข้า ใบยอดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
-ในพืชตระกูลถั่ว การตรึงธาตุไนโตรเจนที่ปมรากจะลดลงทั้งขนาดและจำนวนปม
สภาพแวดล้อมที่พืชขาดธาตุกำมะถัน-ในดินที่มีของความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) 4.0-6.0
-ในดินที่มีค่าอินทรีย์วัตถุต่ำกว่า 1%อินทรีย์วัตถุเป็นแหล่งสำรองของธาตุกำมะถัน ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์
-ผลจากการหักล้างถางพงป่ามาเป็นพื้นที่เพาะปลูกการเกษตรจะทำให้ดินสูญเสียอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น
-การใช้ปุ๋ยสูตรที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารสูง จะทำให้เกิดการขาดธาตุกำมะถัน เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียม
ฟอสเฟต (MAP) ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต(DAP) หรือ ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต(TSP)

ธาตุอาหารเสริม

ธาตุเหล็ก ( Fe) มีคุณสมบัติ ช่วยกระตุ้นการหายใจและการปรุงอาหาร
ธาตุสังกะสี ( Zn ) มีคุณสมบัติ ช่วยการเจริญเติบโตของตา , ยอด ยึด ข้อ ปล้อง
ธาตุแมงกานีส ( Mn ) มีคุณสมบัติ ช่วยสังเคราะห์แสง ควบคุมการทำงานของเหล็กและไนโตรเจน
ธาตุทองแดง ( Cu ) มีคุณสมบัติ สร้างและป้องกันการเสียหายของคลอโรฟิลล์ ช่วยให้พืชดูดธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
ธาตุโมลิบดีนั่ม ( Mo ) มีคุณสมบัติ ช่วยการทำงานของไนโตรเจน ทำให้พืชสมบูรณ์มากขึ้น
ธาตุโบรอน ( B ) มีคุณสมบัติ ช่วยกระตุ้นการสร้างคลอโรฟิลล์และน้ำย่อยบางชนิด
ธาตุโซเดียม ( Na) มีคุณสมบัติ ทำให้การปรุงอาหารของพืชสมบูรณ์
ธาตุซิลเวอร์ ( Ag ) มีคุณสมบัติ ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชหนุนนำการทำงานของไนโตรเจน
ธาตุอะลูมินั่ม ( A1 ) มีคุณสมบัติ ช่วยหนุนนำการทำงานของแมกนีเซียมและซัลเฟอร์ทำให้กระบวนการหายใจและการปรุงอาหารสมบูรณ์
ธาตุซิลิกอน ( Si ) มีคุณสมบัติ ลดการคายน้ำของพืช ช่วยให้แผนกเซลล์พืชแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานของโรคพืช


ธาตุอาหารทั้งหมดมีคุณสมบัติพิเศษมีความเป็นด่างสูง สามารถปรับความเป็นกรดของดินให้เกิดความเป็นกลางได้ และสามารถช่วยดูดซับสารเคมีให้หมดไปจากดินได้ดี แต่ถ้าหากขาดธาตุใดธาตุหนึ่งพืชจะแสดงอาการผิดปกติ ทันที เช่น ใบไหม้ ใบเหลือง ใบแก้ว ใบม้วน ใบติด ลูกร่วง ดอกหล่น ฯลฯ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น